DSpace Repository

อิทธิพลของปัจจัยด้านการออกแบบป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์ต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์
dc.contributor.advisor พีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.author จิรวุฒิ หลอมประโคน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:25:27Z
dc.date.available 2023-05-12T06:25:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7984
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการออกแบบป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์น้ำตาลทรายผ่านปัจจัยด้านการออกแบบ 3 ด้าน ที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายและวิถีชีวิตชาวไร่ พร้อมทั้งตรวจสอบความสามารถในการจดจำและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์น้ำตาลทราย โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมอง N200 และ P300 และทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคระหว่างป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์น้ำตาลทรายจากข้อมูลเชิงคลื่นไฟฟ้าสมองกับข้อมูลเชิงพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัคร เพศหญิง จำนวน 60 คน อายุระหว่าง 25-60 ปี ในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องบันทึกไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan และผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายที่ติดป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน t-test และ Repeated Measures ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์น้ำตาลทรายที่ออกแบบด้วยปัจจัยด้านการออกแบบ 3 ด้าน ได้แก่ รูปภาพ สี และตัวอักษร ผ่านการจัดองค์ประกอบป้ายฉลากบรรจุบรรจุภัณฑ์ 2 รูปแบบ คือ แบบทางเดียวกัน และแบบเน้นจุดสนใจ มีจำนวนทั้งสิ้น 216 ป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์ 2. ข้อมูลเชิงคลื่นไฟฟ้าสมอง แสดงให้เห็นว่า ป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์น้ำตาลทรายรูปแบบภาพจริง สีชมพูระดับคล้ำ และตัวอักษรหนา ที่จัดรูปแบบแบบทางเดียวกัน ทำให้เกิดการจดจำและความพึงพอใจมากที่สุด ส่วนข้อมูลเชิงพฤติกรรม แสดงให้เห็นว่า รูปแบบภาพดัดแปลง สีชมพูระดับอ่อน และตัวอักษรเอียง ที่จัดรูปแบบแบบเน้นจุดสนใจ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจสูงสุด 3. ผลของยอดขายผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายที่ติดป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยใช้ข้อมูลเชิงคลื่นฟ้าสมอง พบว่า การติดป้ายฉลากดังกล่าวทำให้ขายผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายได้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ วิธีการทางระบบประสาทสามารถศึกษารูปแบบป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์ที่มีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ฉลาก
dc.subject การออกแบบ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.title อิทธิพลของปัจจัยด้านการออกแบบป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์ต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
dc.title.alternative Influence of the design fctors of pckge lbeling on consumer purchse behvior: n event-relted potentil study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) to develop novel package labeling for a sugar product by employing three design factors based on the sugar product itself and traditional farmer life, 2) to evaluate the recognition and satisfaction of consumers as measured by changes in N200 and P300 brainwaves, and 3) to compare the purchasing behavior of consumers depending on the package labeling as derived from brainwave and behavioral results. Data were collected from sixty women, aged between 25-60 years old in Chonburi province by using purposive sampling method. The research instruments comprised the Neuroscan machine and the style of package labeling applied to the product. Descriptive statistics, t-test, and the repeated-measures ANOVA were used to analyze the data. The results were as follows: 1. The product package labeling, including the use of three design factors and two compositions, including unity and point of interest, resulted in 216 package labeling variations. 2. The brainwave analysis revealed that the packaging which had an exact product picture, shaded pink color, and bold font earned the recognition and satisfaction of consumers, whereas the behavioral data showed an altered picture, tinted pink color, and italic font earned the recognition and satisfaction of consumers. 3. Sugar sales with the package labeling derived from brainwave data were the strongest. This indicates that a neurophysiological approach can effectively guide and successfully influence package labeling, and play an important role in the prediction of consumer purchasing behavior.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account