Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตและความใส่ใจของกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมบูรณาการกายจิตระหว่างก่อนกับหลังการฝึก และเพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตและความใส่ใจของกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมบูรณาการกายจิตและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงกลุ่มทดลองใช้โปรแกรมบูรณาการกายจิต ส่วนกลุ่มควบคุมใช้ชีวิตตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมบูรณาการกายจิต เครื่องมือวัดระดับความดันโลหิต และแบบทดสอบ D2-Test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. หลังฝึกด้วยโปรแกรมบูรณาการกายจิต ระดับความดันโลหิตของวัยผู้ใหญ่ในระยะ ก่อนความดันโลหิตสูงลดลงกว่าก่อนฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังฝึกด้วยโปรแกรมบูรณาการกายจิต ระดับความใส่ใจของวัยผู้ใหญ่ในระยะก่อนความดันโลหิตสูงมากกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3. ในกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมบูรณาการกายจิต มีระดับความดันโลหิตลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ในกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมบูรณาการกายจิต มีระดับความใส่ใจมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมบูรณาการกายจิต สามารถลดระดับความดันโลหิตและเพิ่ม ความใส่ใจของวัยผู้ใหญ่ในระยะก่อนความดันโลหิตสูงได้