Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านการตื่นตัวในเชิงพฤติกรรม คลื่นไฟฟ้าสมอง และเครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานของสมองขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2559จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (SAM) ด้านการตื่นตัวและเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-Way ANOVA และโปรแกรม Braph ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ชุดชุดละ 12 สิ่งเร้าสิ่งเร้าละ 21 วินาที จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือลักษณะสงบ และลักษณะตื่นเต้น 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นเพศหญิง มีอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะสงบมากกว่าผู้ใหญ่ตอนต้นเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะสงบและตื่นเต้นลักษณะ ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงแตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ตำแหน่ง FP1FPz F3 F4 FC3 และ FC4 เปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ตำแหน่ง PO3 PO4 PO8 และ O2ส่วนผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยกับกลาง ๆ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ตำแหน่ง F3 F1 F4 และ FC1บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ตำแหน่ง CP4 P1 และ PZ บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย ตำแหน่ง PO3 PO7 PO8 และ O2 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพที่บริเวณเปลือกสมองส่วนบน ที่ตำแหน่ง P3 Pz P2 และ P4และบริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย ที่ตำแหน่ง PO7 POz PO4 PO8 O1 และ O2 4. เครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานของสมองในผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวลักษณะสงบ เพศหญิงมีความหนาแน่นของเครือข่ายมากกว่าเพศชาย มีการเชื่อมโยงระหว่างโหนดยาวกว่าเพศชาย และประสิทธิภาพเครือข่ายดีกว่าเพศชาย ลักษณะตื่นเต้นเพศชายมีความหนาแน่นของเครือข่ายมากกว่า มีการเชื่อมโยงระหว่างโหนดยาวกว่า และมีประสิทธิภาพเครือข่ายดีกว่าเพศหญิง