DSpace Repository

การพัฒนาระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.author ธนปพน ภูสุวรรณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:15:04Z
dc.date.available 2023-05-12T06:15:04Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7974
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เสียงด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย ตรวจสอบคุณภาพของเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึก พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึก และเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับเพศหญิงที่มีต่อเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2560 ที่มีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 60 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตรวจสอบคุณภาพของเสียงดิจิทัล จำนวน 400 คน และ 2) กลุ่มเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึก จำนวน 140 คน (เพศชาย 70 คน และเพศหญิง 70 คน) ได้มาจากการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย และ 2) มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (Self-Assessment Manikin: SAM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย ที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพ จำนวน 594 เสียง จำแนกเป็น 1) ด้านความประทับใจ จำนวน 170 เสียง (ลักษณะพึงพอใจ จำนวน 45 เสียง ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 64 เสียง และลักษณะไม่พึงพอใจ จำนวน 61 เสียง) 2) ด้านการตื่นตัว จำนวน 212 เสียง (ลักษณะตื่นเต้น จำนวน 148 เสียง ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 46 เสียง และลักษณะสงบ จำนวน 18 เสียง) และ 3) ด้านการมีอิทธิพล จำนวน 212 เสียง (ลักษณะกลัว จำนวน 37 เสียง ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 85 เสียง และลักษณะไม่กลัว จำนวน 90 เสียง) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานแล้วอยู่ในระดับดี 3. ผลการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับเพศหญิงที่มีต่อเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย ชี้ให้เห็นว่า เพศชายมีอารมณ์ความรู้สึกต่อเสียงดิจิทัลด้านการตื่นตัว ลักษณะสงบ และด้านการมีอิทธิพล ลักษณะเฉย ๆ ลักษณะไม่กลัว มากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความรู้สึก
dc.subject เสียง
dc.subject อารมณ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.title การพัฒนาระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย
dc.title.alternative The development of n ffective digitized sound-bnk system in the context of thi society
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were (1) to compile affective sounds in the context of Thai society, (2) to validate the quality of digitized sounds, (3) to develop a computerized sound bank system, and (4) to compare emotions between males and females towards affective digitized sounds. The sample involved Thai people, aged 18-60 in 2017, divided into two groups: 1) 400 who were asked to validate the quality of digitized sounds, and 2) 70 males and 70 females for comparing emotions. They were all volunteers. The research instruments were 1) digitized sounds affecting emotions in Thai society, and 2) Self-Assessment Manikin (SAM) scale. Data were analyzed by t-tests and descriptive statistics. The research results showed that: 1) There were 594 affective digitized sounds that passed quality testing. They were classified as 1) 170 valence sounds (45 pleasure 64 neutral, and 61 unpleasure), 2) 212 arousal sounds (148 excited, 46 neutral, and 18 calm), and 3) 212 dominance sounds (37 uncontrol, 85 neutral, and 90 control). 2) Regarding the development of the Thai affective digitized sound bank system, it was produced as an online web application. Quality testing of the bank was assessed by computer experts and users and judged to be of a good standard. 3) Regarding the comparison between male and female emotions towards affective digitized sounds, it was found that males’ feelings in the aspects of arousal in calm feelings, dominance in neutral and controlled feelings were greater than females with a statistical significance level of .05.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account