DSpace Repository

การประเมินแคดเมียมและตะกั่วในน้ำทะเลด้วยหอยแมลงภู่เทียมบริเวณชายฝั่งอ่างศิลาจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
dc.contributor.advisor ปภาศิริ บาร์เนท
dc.contributor.author มุทิตา แซ่โง้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:15:02Z
dc.date.available 2023-05-12T06:15:02Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7968
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินการปนเปื้อนของ Cd และ Pb ในแหล่งน้ำทะเลพื้นที่ชายฝั่งอ่างศิลาจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ในด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านอุตสาหกรรมโดยเก็บตัวอย่างน้ำทะเลโดยตรงและทดลองการดูดซับของหอยแมลงภู่เทียม( Artificial Mussel )รวมทั้งค่าคุณภาพน้ำทะเลทุก ๆ 14วัน อย่างต่อเนื่องจนถึง 56 วันในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน ผลการศึกษาพบว่าฤดูกาลมีผลต่อการตรวจพบโลหะหนัก Cd และ Pb ในน้ำทะเลโดยความเข้มข้นจะต่ำในช่วงเริ่มต้นฤดูแล้ง(มีนาคม) และจะสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูแล้ง (เมษายน-พฤษภาคม) อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของ Cd ในน้ำทะเลยังมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทะเลของประเทศไทยและอาเซียน (กำหนดที่ 5µg L-1 ) ในขณะที่ความเข้มข้นของ Pb ในน้ำทะเลบางตัวอย่าง พบว่ามีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน (กำหนดที่ 8.5µg L-1 ) แต่ยังต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ระดับความเข้มข้นสูงสุดที่ยินยอมให้มีอยู่ในน้ำ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ (50µg L-1 ) ส่วนการปนเปื้อนของ Cd จากการดูดซับในหอยแมลงภู่เทียมสามารถตรวจพบได้ทั้งสองฤดูกาลในขณะที่ Pb ตรวจพบได้เฉพาะในฤดูฝน เมื่อวิเคราะห์ผลความสัมพันธ์การพบ Cd ระหว่างน้ำทะเลและหอยแมลงภู่เทียมในแต่ละช่วงระยะเวลา รวมกันทั้ง 2 ฤดูกาล พบว่า ความเข้มข้น Cd ระหว่างน้ำทะเล และจากการดูดซับของหอยแมลงภู่เทียมในช่วงระยะเวลาวันที่ 28 42 และ 56 วัน มีความสัมพันธ์กัน (r = 0.7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ในขณะที่ Pb ในทุกช่วงเวลาไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เมื่อวิเคราะห์ค่าการนำไฟฟ้าและค่าความเค็ม พบว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพบ Cd และ Pb ในน้ำทะเล (P-value < 0.05) แต่ไม่มีผลเมื่อตรวจจากการดูดซับของหอยแมลงภู่เทียม ผลการศึกษาครั้งนี้จึงยืนยันว่าหอยแมลงภู่เทียมสามารถนำมาประยุกต์ใช้แทนสิ่งมีชีวิตในตรวจสอบ Cd ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทยได้เหมาะสมและไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยของค่าการนำไฟฟ้าสูงและค่าความเค็มสูง และควรวางหอยแมลงภู่เทียมในน้ำทะเลช่วงระยะเวลา 30-40 วัน ในขณะที่การดูดซับ Pb ในหอยแมลงภู่เทียมยังควรมีการศึกษาความเหมาะสมต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แคดเมียม -- การประเมินความเสี่ยง
dc.subject หอยแมลงภู่
dc.subject โลหะหนัก
dc.subject Science and Technology
dc.subject แคดเมียม
dc.subject ตะกั่ว
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.title การประเมินแคดเมียมและตะกั่วในน้ำทะเลด้วยหอยแมลงภู่เทียมบริเวณชายฝั่งอ่างศิลาจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Assessing temporl distribution of cdmium nd led using rtificil mussel in the costl wter of ngsil chonburi province, thilnd
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research assessed heavy metals Cd and Pb contamination in seawater of the Angsila Coast, Chonburi Province, Thailand. This coastal location is a good representative of many locations in Thailand that conduct fishery, aquaculture and industrial activities. Every 14 days, seawater samples were collected and AM device was tested for absorption, while measuring seawater quality for a total of 56 days in the wet and dry season. It was found that season affects the Cd and Pb quantity in seawater. Cd and Pb concentration was low at the beginning of the dry season (March) and gradually increases at the end of the dry season (April-May). However, quantity of Cd is not over water quality standard of Thailand and ASEAN (at 5 µg L-1 ) . Meanwhile, Pb quantity in some samples were found to be over the standard limit (at 8.5 µg L-1 ), but this value is still under the maximum concentration acceptable in seawater that does not cause harm to marine organisms (at 50 µg L-1 ). Moreover, the AM device absorption of Cd contamination was found in both seasons, while Pb was found only in the wet season. The correlation analysis of Cd presence in seawater and AM device in both seasons found a positive correlation of Cd presence at 28th, 42nd, and 56th days (r = 0.7) with statistical significance of P-value < 0.05. After careful analysis of water quality factors, it was found that high conductivity and salinity levels can influence the presence of Cd and Pb in seawater (P-value < 0.05), but this influence was not found from AM device absorption. This indicates the usefulness of AM device as an alternative to aquatic organisms in Cd monitoring and evaluation in Thailand marine environment, which will not be affected by high conductivity and salinity level in seawater. Based on this research, the AM device should be placed in the seawater for at least 30-40 days. Further tests should be conducted for Pb absorption in AM device to conclude its effectiveness.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account