DSpace Repository

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับโปรแกรม GSP

Show simple item record

dc.contributor.advisor รักพร ดอกจันทร์
dc.contributor.author ภาวดี วงศ์ดี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:15:01Z
dc.date.available 2023-05-12T06:15:01Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7965
dc.description วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับโปรแกรม GSP กับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ในการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ขณะที่เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์จังหวัดสมุทรสาคร โดยให้สมัครใจมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับโปรแกรม GSP แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ดัชนี ประสิทธิผลและการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับโปรแกรม GSP สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตมีค่าเท่ากับ 0.6101 และ 3) ความพึงพอใจ ของนักเรียนส่วนใหญ่ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์อยู่ในระดับมากขึ้นไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subject Science and Technology
dc.subject เรขาคณิต -- การศึกษาเเละการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
dc.title การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับโปรแกรม GSP
dc.title.alternative A study on mthemtics lerning chievement on geometric trnsformtion for grde 9 students by student tem chievement division with the geometer’s sketchpd progrm (gsp)
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to compare the mathematical learning achievement on Geometric Transformation for grade 9 students by Student Team Achievement Division (STAD) withthe Geometer’s Sketchpad Program (GSP) with 60 percent criterion 2) to study the effectiveness index of Mathematics learning on Geometric Transformation and 3) to study student’s satisfaction towards the mathematics learning management. The sample were 39 grade 9 students studied in the first semester of 2018 academic year who had the mathematical learning achievement on Geometric Transformation less than 60 percent criteria score while they were studying in grade 8 in 2017 academic year at Omnoisophonchanupatham School, Samut Sakhon using the volunteer method. The research instruments consisted of the lesson plans of Geometric Transformation, the mathematical learning achievement test and student's satisfaction questionnaire of Geometric Transformation. The data were statistically analyzed by percentage, effectiveness and t-test for one group. The results of this research revealed that 1) the mathematics learning achievement on Geometric Transformation by STAD with GSP Program were higher than 60 percent criterion statistically significant at .05 level. 2) The effectiveness index of mathematical achievement on Geometric Transformation was 0.6101 and3) the student's satisfaction towards the mathematical learning management were at a highagreement level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline คณิตศาสตร์ศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account