Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1. โครงสร้างอํานาจรัฐที่มีผลต่อโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี 2.กระบวนการสะสมทุนที่มีผลต่อโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีและ 3. อุดมการณ์ที่มีผลต่อโครงสร้างอํานาจท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรีด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตในพื้นที่ แล้วนําข้อมูลมาประมวล จัดระบบ และวิเคราะห์ และนําเสนอโดยพรรณนาวิเคราะห์จากการศึกษาพบว่า 1. โครงสร้างอํานาจรัฐมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในแต่ละยุคสมัยดังนี้ 1. ระหว่าง พ.ศ. 2398-2475 นโยบายการรวมศูนย์อํานาจ (Centralization) ของรัฐส่วนกลาง ทําให้อํานาจด้านเศรษฐกิจและการปกครองของกลุ่มสกุล บุนนาคลดลง 2. ระหว่าง พ.ศ. 2475-2521 บทบาทของรัฐส่วนกลางก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอํานาจท้องถิ่น ได้แก่ 1. รัฐราชการรูปแบบใหม่ทําให้ระบบราชการเข้มแข็งผูกขาดอํานาจ และมีบทบาทนําในโครงสร้างอํานาจท้องถิ่น 2. การแบ่งส่วนราชการเป็น 3 ส่วน ทําให้การปกครองอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลและข้าราชการประจําชนชั้นนําท้องถิ่นต้องปรับตัวสร้างความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์กับข้าราชการทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และ 3. มีการใช้ระบบเลือกตั้ง เพื่อสร้างความชอบธรรม แต่อยู่ภายใต้การควบคุมและครอบงําของชนชั้นนําทหาร 3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2521-2557 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ทําให้การเลือกตั้ง เป็นระบบและเป็นรากฐานของประชาธิปไตยท้องถิ่น แต่นักการเมือง นักธุรกิจ และทหารก็ปรับตัวเข้าสู่ระบบเลือกตั้งจนเกิดสภาพ ธุรกิจการเมืองที่อุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทําให้ขั้วอํานาจหลักให้ความสําคัญที่การเมืองท้องถิ่น มีการสร้างเครือข่ายในระบบอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองท้องถิ่น มีความพยายามสถาปนาโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นขึ้นในกลุ่มตระกูล นักการเมือง และมีการแบ่งพื้นที่ (Zoning) ของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น 2. กระบวนการสะสมทุนของชนชั้นนําในจังหวัดเพชรบุรีมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 1. ระหว่าง พ.ศ. 2398-2475 กระบวนการสะสมทุนสัมพันธ์กับอํานาจรัฐ มีผลประโยชน์จากระบบกินเมือง รายได้หลักมาจากภาษี การค้าในภาคเกษตรและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 2. ระหว่าง พ.ศ. 2475-2521 ชนชั้นนําทําการค้าหลายประเภท การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ และธุรกิจผิดกฎหมาย เครื่องมือในการดูแลธุรกิจคือนักเลง และร่วมทุนกับผู้มีอํานาจในรัฐบาล และ 3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2521-2557 ชนชั้นนํา ทําธุรกิจทั้งสีขาว สีเทา และสีดํา มีนักเลงและมือปืนช่วยดูแลธุรกิจ มีการแสวงค่าเช่าทางเศรษฐกิจโดยใช้ตําแหน่งหน้าที่ 3. อุดมการณ์ของรัฐมีผลต่อพัฒนาการโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี ดังนี้ 1.ระหว่าง พ.ศ. 2398-2475 การสร้างรัฐสมัยใหม่มีบทบาทนําความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมเมืองเพชรบุรี โดยพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางกลุ่มสกุลบุนนาค และมิชชันนารีอเมริกันทําให้เมืองเพชรบุรีพัฒนาทั้งทางกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจ 2. ระหว่าง พ.ศ. 2475-2521 อุดมการณ์ชาตินิยมที่มีแนวคิดต่อต้านและลดบทบาทคนจีน ทําให้นายทุนชาวจีนปรับตัวเป็นนายทุนจีนจิตใจไทย เพื่อการยอมรับจากพื้นที่ 3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ถึงปัจจุบัน อุดมการณ์เลือกตั้งนิยมมีบทบาทต่อคนทุกระดับในสังคมชนชั้นนําต้องการได้รับการเลือกตั้งเพื่อไปสู่การมีอํานาจอย่างเป็นทางการและสถาปนาเป็นโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี