Abstract:
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหวาดกลัวอาชญากรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อความหวาดกลัวอาชญากรรมของผู้พักอาศัยในอพาร์ตเม้นต์หอพัก และคอนโดมิเนียม ในจังหวัดชลบุรี โดยความหวาดกลัวแบ่งเป็น 2 มิติ มิติแรกคือความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรม และมิติที่สองคือพฤติกรรมที่แสดงออก (เมื่อรู้สึกหวาดกลัว) การออกแบบวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจํานวน 392 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson -r) การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (MRA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้พักอาศัยในอาคารทั้ง 3 ประเภทกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมในภาพรวมระดับปานกลาง ประเภทอาชญากรรมที่กังวลมากที่สุด คือ การทําร้ายร่างกาย ( X = 2.89) การฆาตกรรม ( X = 2.86) และการลักยานพาหนะ ( X = 2.86) พิจารณาปัจจัยเพศผู้ตอบ พบว่า เพศหญิงกังวลมากกว่าเพศชายในทุกประเภท อาชญากรรม โดยอาชญากรรมที่เพศหญิงกังวลมากที่สุดคือ การลักยานพาหนะ ( X = 3.44) การฉกชิงวิ่งราว ( X = 3.44 การจี้การปล้น ( X = 3.43) ในขณะที่ประเภทอาชญากรรมที่เพศชายกังวลมากที่สุดคือ การทําร้ายร่างกาย ( X = 2.27) การฆาตกรรม ( X = 2.26) และการลักยานพาหนะ ( X = 2.16) ส่วนด้านพฤติกรรมที่แสดงออกพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยแสดงออกมากที่สุด คือ 1. พฤติกรรมป้องกันด้วยการติดกลอนประตู กุญแจ และสัญญาณกันขโมย ( X = 3.63) และ 2. พฤติกรรมหลีกเลี่ยงการออกนอกที่พักอาศัยในเวลากลางคืน ( X = 3.48) ผลการวิเคราะห์ยังพบว่าความกังวลกับพฤติกรรมที่แสดงออกความสัมพันธ์สัมพันธ์กันร้อยละ 49 ส่วนผลการวิเคราะห์ MRA พบว่า 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความกังวล เรียงตามลําดับขนาดอิทธิพล ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง (β = .481) เพศ (β = .281) การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรม (β = .15) ทัศนคติต่อกระบวนการยุติธรรม (β = .082) ตามลําดับ ปัจจัยด้านความปลอดภัยที่พักอาศัย (β = -.077) และผลการวิเคราะห์ One – Way ANOVA พบว่า ประเภทที่พักอาศัยมีนัยสําคัญต่อความกังวล โดยผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมรู้สึกกังวลน้อยกว่าผู้พักอาศัยในหอพักและในอพาร์ตเม้นต์