DSpace Repository

ปัญหาการดำเนินคดีริบทรัพย์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรรัมภา ไวยมุกข์
dc.contributor.author ลาวัลย์ จันทร์เปล่ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:14:56Z
dc.date.available 2023-05-12T06:14:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7943
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract รายงานการศึกษาปัญหาการทําคดีริบทรัพย์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งกฎหมายในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีเพื่อหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในขั้นตอนของการดําเนินการทําคดีตรวจสอบทรัพย์สิน จากการศึกษาพบว่าการดําเนินการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ยังพบปัญหาอยู่ 2 กรณี (1) ตามมาตรา 27 ระยะเวลาในการทําคดีริบทรัพย์สิน ยังมีข้อจํากัดในเงื่อนระยะเวลาการทําคดีในขณะที่กฎหมายริบทรัพย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และกฎหมายริบทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาไม่จํากัดด้วยเงื่อนเวลาดังมาตรา 27 (2) ปัญหาความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอริบทรัพย์สินของจําเลยในการกระทําความครั้งอื่น ปัญหาการยกฟ้องคดีอาญา หรือพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีอาญา ทําให้คดีริบทรัพย์ยุติไปด้วยเป็นที่น่าเสียดาย เมื่อพบว่าทรัพย์สินที่ผู้ต้องหาถูกยึดมา มีจํานวนมาก มูลค่ามากแต่เกิดความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับพยานหลักฐานคดีอาญา ส่งผลให้คดีอาญาอาจถูกศาลยกฟ้อง พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องทั้ง ๆ ที่ผู้ต้องหาเองนั้น มีคดีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขอายุความและในทางสืบสวนยังมีพฤติการณ์ค่ายาเสพติดอยู่จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้เสนอแนะให้ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้การดําเนินการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมายเหมาะสมกับหลักการ สภาพการปฏิบัติงานที่แท้จริงในการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้วิจัยจึงเห็นควรเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 เกี่ยวกับเรื่องอายุความตามมาตรา 27 และเพิ่มเติมให้มีบทบัญญัติมาตรา 32 ให้สามารถขอริบทรัพย์สินของผู้ถูกตรวจสอบทรัพย์สินสําหรับคดีความผิดครั้งอื่นได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กฎหมายยาเสพติด
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.title ปัญหาการดำเนินคดีริบทรัพย์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
dc.title.alternative Issues of confisction cse bymesure of forfeiture of ssets under ct on mesure for the suppression of offenders in n offence relting to nrcotics, b.e. 2534
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research on problems of asset forfeiture under the Act on Measures for the Suppression of Offenders in an Offence Relating to Narcotics, B.E. 2534aims to study the concept, theory, background of asset forfeiture relating to narcotics offences under the laws of Thailand, the U.S.A. and the Federal Republic of Germany to determine the solution and amendments to the Act on Measures for the Suppression of Offenders in an Offence Relating to Narcotics on the part of asset investigation process. It is found that the asset forfeiture process relating to narcotics offences under the Act on Measures for the Suppression of Offenders in an Offence Relating to Narcotics, B.E. 2534, is mainly impeded by 2 problems;1. According to Article 27, the prosecution timeframe of asset forfeiture is limited. However, the asset forfeiture under the Money Laundering Control Act, B.E. 2542, and under the American laws is not limited with the timeframe. 2. The ambiguous asset forfeiture relating to other offence of the defendant, the dismissal of criminal case or the non-prosecution order unfortunately brings the end to the asset forfeiture process, despite that the forfeited assets may have a high value. The ambiguous evidence of a criminal case leads to a case dismissal or non-prosecution order, even when the narcotics offence has not expired according to the statute of limitations and the investigation shows that the defendant is involved with drug trafficking. Due to the above-mentioned problems, the researcher suggests an amendment to the law to accelerate and facilitate the asset forfeiture process relating to narcotics offences in compliance with the principle and objective of the law in accordance with the real practices of asset investigation of the officers. Hence, the researcher suggests an amendment of Article 27 the Statute of Limitations of the Act on Measures for the Suppression of Offenders in an Offence Relating to Narcotics B.E. 2534, and additional provision to Article 32 to allow the asset forfeiture of the inspected person relating to other offence cases
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account