Abstract:
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการเยียวยาความเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมในความเสียหายต่อชีวิตร่างกายอนามัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยรวมไปถึงองค์กรผู้มีอํานาจหน้าที่ในการการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายดังกล่าว โดยศึกษาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รวมไปถึงกองทุนสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องที่พบว่ายังไม่อาจเข้าช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความเสียหายที่กระทําต่อสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดผลเสียหายเป็นวงกว้างภาครัฐในฐานะรัฐสวัสดิการจึงควรมีบทบาทในการเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเสียหายก่อนและฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากผู้กระทําความผิดในภายหลัง จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันเมื่อเกิดการกระทําความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแล้วการเยียวยาความเสียหายตามกฎหมาย เมื่อเกิดความเสียหายจากกับผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 96 พบว่ายังไม่มีกฎหมายที่จะช่วยเหลือประชาชนสําหรับค่าปลงศพ ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งหากผู้เสียหายจะได้รับเงินต่าง ๆ ดังกล่าวจําเป็นต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลจนกว่าจะชนะคดีซึ่งทําให้เกิด ความล่าช้าและเป็นปัญหาค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายต้องจ่ายในค่ารักษาพยาบาล ค่าดําเนินการเกี่ยวกับการฟ้องคดี และอื่น ๆ ซึ่งผู้วิจัยได้วิจัยเปรียบเทียบกับกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากมลพิษโดยไม่ต้องฟ้องคดีเพียงแต่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่เท่านั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยกําหนดถึงเรื่องการเยียวยาความเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการกําหนด อํานาจหน้าที่ให้หน่วยงานราชการในการรับรองผู้เสียหายที่จะได้รับการเยียวยาความเสียหายตามกฎหมาย การกําหนดขอบเขต และการกําหนดที่มาของกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาในเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายเยียวยาความเสียหายจากมลพิษของประเทศญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนากฎหมายในประเทศไทยที่กําลังเกิดเผชิญกับปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในปัจจุบัน