DSpace Repository

มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหายทางแพ่งแก่ผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรรัมภา ไวยมุกข์
dc.contributor.author อรสินี อินทะวงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:14:56Z
dc.date.available 2023-05-12T06:14:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7940
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาสร้างรายได้ให้เป็นจํานวนมาก ดังนั้น เมื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประสบปัญหาได้รับความเสียหายจากการบริโภค จึงควรจะสามารถได้รับการเยียวยาความเสียหายที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นธรรม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพราะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะอยู่ในประเทศไทยเพียงช่วงระยะสั้น ๆ และความเสียหายมีจํานวนเล็กน้อย จากการศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแม้ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 แต่ก็ไม่สามารถได้รับการเยียวยาได้อย่างทันท่วงที ขณะที่กองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวต่างชาติ และพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 จํากัดเฉพาะการเยียวยาความเสียหายทางแพ่งแก่ชาวต่างชาติในบางเรื่องเท่านั้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังอาจดําเนินคดีผู้บริโภคตาม พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้แต่อาจไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายที่รวดเร็วและเหมาะสม เนื่องกระบวนการทางศาลอาจล่าช้า มีค่าใช้จ่ายสูงต้องดําเนินการบังคับคดีเองในภายหลังและผู้มีอํานาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคก็ไม่อาจฟ้องคดีแทนได้ในทุกกรณี ผู้วิจัยจึงข้อเสนอแนะว่าในเบื้องต้นควรมีการปรับปรุงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและควรตั้งให้มีผู้แทนของนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยตรงเพื่อดําเนินการแทนในกระบวนการพิจารณาคดี ผู้บริโภคในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องควรให้มีกลไกเยียวยาความเสียหายที่ใช้ง่าย รวดเร็ว ลดภาระและค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น นอกจากนี้ ประเทศไทยควรตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเยียวยาความเสียหายทางแพ่งแก่ผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้มีหน่วยงานเฉพาะและเจ้าหน้าที่มีความพร้อมด้านภาษาต่างประเทศให้มีอํานาจรับเรื่อง พิจารณาตรวจสอบ และสั่งจ่ายค่าเสียหายได้ทันทีซึ่งกองทุนจะรับสิทธิไล่เบี้ยจากนักท่องเที่ยวผู้นั้นไปฟ้องร้องผู้ประกอบธุรกิจที่กระทําการค้าอันขัดต่อกฎหมายต่อไป โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 18 และมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ให้กองทุนนี้สามารถฟ้องคดีใช้สิทธิไล่เบี้ยได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นศาล และให้ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีผู้บริโภค
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายมหาชน
dc.title มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหายทางแพ่งแก่ผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
dc.title.alternative Legl mesures on civil consumer redress for foreign tourists
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Thailand has a large tourism industry. It welcomes a multitude of foreign tourists that generates substantial revenues for the country. Therefore, when foreign tourists encounter problems about consumer damages, they should be able to obtain an easily accessible, fair, timely and effective consumer redress since they will only stay within Thailand for a short duration. The research of the existing Thai laws found that although foreign tourists are protected under the Consumer Protection Act B.E. 2522 and the Liability for Damage Arising from Unsafe Products Act B.E. 2551 but there is no available measure for an immediate consumer redress. While the Foreign Tourists Compensation Funds and the Tourism Business and Guide Act B.E. 2551 are only limited to the certain civil redresses. Meanwhile, foreign tourists may file a consumer case at the court according to the Consumer Case Procedure Act B.E. 2551. But they may not be able to obtain a prompt and reasonable redress because the court procedure maybe lengthy and costly, the plaintiffs will need to obtain an enforcement order by themselves later, and the eligible consumer case agents may not be able to represent them in all cases. Hence, the researcher proposes, in a preliminary, an improvement to the existing dispute resolution measure. The related consumer protection laws should instate the consumer case agents for the foreign tourists specifically to represent them in the court procedures. The consumer redress mechanism for foreign tourists should be easier to use, more expeditious, without unnecessary burden or cost. Furthermore, Thailand should enact the new legislation to establish the civil consumer redress for the foreign tourist fund which will be governed by the specific agency equipped with multilingual agents. This agency would be authorized to receive and investigate the complaints and approve the redress from the fund. The fund will then be transferred the right of recourse from the tourists to sue the traders who have committed the illegal unfair trading. The section 18 and section 19 of the Consumer Case Procedure Act B.E. 2551 should be amended to allow the fund to be eligible to exercise the right of recourse as a consumer case and exempt all the court fees.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายมหาชน
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account