dc.contributor.advisor |
อรรัมภา ไวยมุกข์ |
|
dc.contributor.author |
เสาวลักษณ์ ทองลอย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:14:55Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:14:55Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7938 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
จากสภาพความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เสมอภาคทางเพศระหว่างชายหญิง จึงนํามาซึ่งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีความรุนแรงทางการเงิน หมายถึง การทำร้าายบุคคลหนึ่งด้วยความรุนแรงหรือความมีอํานาจในการควบคุมโดยไปคุกคามอีกฝ่ายที่ต้องพึ่งพิงโดยมีปัจจัยทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือเป็นการใช้ทรัพย์สินเงินทองและของมีค่าเป็นเครื่องมือหรือตัวกระทําความรุนแรงใส่อีกบุคคลหนึ่ง เช่น การกีดกันไม่ให้ภรรยามีโอกาสทํางานนอกบ้านให้เลิกทํางาน สามีเป็นคนจัดการค้าใช้จ่ายเองทั้งหมด ทําให้ภรรยารู้สึกว่าต้องพึ่งพาสามี เรื่องเงิน เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นการกระทําที่เกิดจากผู้มีอํานาจเหนือกว่าในครอบครัวใช้อํานาจที่เหนือกว่าบีบบังคับผู้ที่ด้อยกว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน เป็นการตอกย้ำถึงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของคนในสังคมเรื่องชายเป็นใหญ่ ซึ่งถือเป็นความรุนแรงในครอบครัวประการหนึ่งและเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างอื่นตามมาจากนิยามคําว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ยังขาดความเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันและไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่รับรองและคุ้มครองสิทธิสตรี ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดคุ้มครองผู้ถูกกระทําในลักษณะนี้ จึงเกิดปัญหาช่องว่างของกฎหมาย สําหรับการคุ้มครองผู้ถูกกระทํา ผู้วิจัยเห็นว่ารัฐควรเข้ามาให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแก่ผู้ถูกกระทําความรุนแรงทางการเงิน โดยการเพิ่มเติมขอบเขตนิยามคําว่า “ความรุนแรงใน ครอบครัว” ให้ครอบคลุมถึงความรุนแรงทางการเงินในลักษณะเดียวกันกับกฎหมายประเทศอังกฤษและอินเดีย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
ความรุนแรงในครอบครัว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
|
dc.subject |
ความรุนแรงในครอบครัว |
|
dc.title |
ปัญหานิยามความรุนแรงในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ศึกษากรณีความรุนแรงทางการเงิน |
|
dc.title.alternative |
Problems concerning definition of domestic violence under domestic violence victims protection ct b.e. 2550: study of finncil buse |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
From the social disparity, the gender inequality resulted in the domestic violence especially in the financial abuse which means to harm the person with the violence or to have power to control by harassing the person in need of the support with the financial factor related. It is to employ the assets and valuable things as the tool or the violence actor to another person such as to hinder the wife from her work or to make her stop working so that the husband is responsible for all expenses causing the wife‘s living to depend on the financial support of the husband. Therefore, it is the act arising from the person having more power in family and enjoys such power to force the weaker person in financial aspect and the emphasis of the attitude, the values and the social belief about male dominance which is one of the domestic violence and the cause of the following family violence problems. The definition of the “domestic violence” in section 3 of the Victims of Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 is not appropriate with regard to the society nowadays and is inconsistent with the international laws which asserted and protected the women rights. Now, Thailand has no law protecting the victim in such manner, so there are the problems of gap in the law in this area. The researcher suggests the state to protect and support the financial abuse victim by including the financial abuse in the scope of the “domestic violence” in the same manner as the English and Indian law. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
กฎหมายและอาชญาวิทยา |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|