Abstract:
งานนิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการกําหนดฐานความผิดทางอาญาแก่ผู้กระทําความผิดตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งมลพิษต้องรับผิดเมื่อมลพิษจากแหล่งมลพิษดังกล่าวรั่วไหลหรือแพร่กระจายและก่อให้เกิดความเสียหายจากการศึกษาพบว่า เมื่อเกิดการกระทําตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 มาตรา 96 นั้น แล้วนั้นยังไม่มีฐานความผิดทางอาญาเพื่อการกําหนดโทษแก่ผู้กระทําความผิด แม้พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่สมควรจะถูกลงโทษทางอาญาเมื่อได้พิจารณาจากวัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการนิติบัญญัติทางอาญาสารบัญญัติและแนวคิดของการกําหนดปริมณฑลของกฎหมายอาญาสารบัญญัติแล้วก็ตาม ทั้งนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและเครือรัฐออสเตรเลียอีกด้วยผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 โดยเพิ่มบทบัญญัติมาตรา 111/1 ในหมวด 7 บทกําหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม โดยบัญญัติให้การกระทําตามมาตรา 96 มีความรับผิดและต้องรับโทษในทางอาญาด้วย