Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วม ของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตราด โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 118 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อ มูลเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่าค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .67 ถึง 1.0 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละและการทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองตัว และการทดสอบเอฟ (F-test)โดยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One WayANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามตัวขึ้นไป และเมื่อพบว่า มีความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant difference: LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และส่งเสริม การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่องสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตราด โดยภาพรวม และรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 3 อันดับ ได้แก่ การร่วมดำเนินงานการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งด้านนโยบาย การจัดการเรียนการสอน การรับรู้นโยบายของโรงเรียนและร่วมกิจกรรมของโรงเรียน การร่วมเสนอแนะความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในการประชุมการเสนอแนะความคิดเห็น ผ่านการประชุมในโอกาสต่าง ๆ และ ทางเอกสารที่ออกโดยโรงเรียน และการร่วมตรวจสอบการมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของโรงเรียนการรับรู้ รับทราบ นโยบาย และซักถามข้อสงสัย ในการดำเนินงานของโรงเรียน 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่องสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตราด จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ 2.1 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง สำนักงานเขตพื้นที่ ประถมศึกษาตราด จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ 2.2 ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตราด จำแนกตามอายุ พบว่า มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.3 การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง แยกตามระดับการศึกษาโดยรวม พบว่า ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ในการจัดการศึกษา และ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง แยกตามระดับการศึกษาโดยรวม พบว่า ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.5 ผลเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตราด จำแนกตามรายได้โดยรวม พบว่า รายได้ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตราด 3.1 ในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนไม่ใช้หน้าที่ของสถานศึกษาแต่อย่างเดียว จะต้องดำเนินการรวมกันแบบองค์รวม ทั้งสถานศึกษา ครอบครัว ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน 3.2 การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วม จากการศึกษาวิจัย พบว่า สถานศึกษาจะต้อง เปิดโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในทุกระดับตั้งแต่ ประชุม วางแผนนโยบาย รับฟังการเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ ส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมดำเนินการ ในการจัดการศึกษา ร่วมตรวจสอบการดำเนินงาน 3.3 สถานศึกษาจะต้องเป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกับผู้ปกครองชุมชน อันจะทำให้เกิดการยอมรับและเชื่อถือ