Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ประเมินความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพ การศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 361 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ จัดลำดับ ความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Priority Needs Index: PNI (PNI Modified) และวิเคราะห์โมเดล เชิงสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) 2) พัฒนารูปแบบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เก็บข้อมูลโดยแบบประเมินและแบบวิพากษ์รูปแบบวิเคราะห์ ค่ามัธยฐานและพิสัยควอไทล์ 3) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ทดลองใช้รูปแบบการประเมินกับหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบใน 4 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1. หลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิตมีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากและมีความต้องการจำเป็นในการปรับปรุงประบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในลำดับแรก 2. โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิตที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 149.449; 2-test = .000; 2/ df = 3.397; CFI = .973; GFI = .939; AGFI = .891; RMR = .015; RMSEA = .082) ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวน (R2) ได้ร้อยละ 77 3. รูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) วัตถุประสงค์ของการประเมิน2) สิ่งที่มุ่งประเมิน 3) วิธีการประเมิน และ 4) วิธีการติดสินผล 4. ตัวบ่งชี้ในรูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ จำนวน 17 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 3 ทักษะชีวิตและการทำงาน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 5. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยมาตรฐานด้านการมีประโยชน์ (Utility) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ด้านความสมเหตุสมผล (Propriety) และด้านความถูกต้อง (Accuracy) ตามลำดับ