DSpace Repository

ระบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.advisor มนตรี แย้มกสิกร
dc.contributor.author สุนิตย์ตา เย็นทั่ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:13:02Z
dc.date.available 2023-05-12T06:13:02Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7884
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยมีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอนหลัก กล่าวคือ 1) ขั้นสร้างระบบการสอน (Construction) ประกอบด้วย การสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างข้อสรุปกำหนดเป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีในการร่างระบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยน จากนั้นตรวจสอบคุณภาพของระบบการสอนฯ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน และประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2) ขั้นนำระบบการสอนไปใช้ในสถานการณ์จริง (Implementation) ผู้วิจัยดำเนินการตามแผนการทดลองแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (One-way repeated measurement design) ลักษณะการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำระบบการสอนไปใช้เป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 32 คน เนื้อหาที่ใช้ในการทดลองเป็นเนื้อหาสาระในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ดำเนินการทดลอง 1 ภาคการศึกษา คือ ภาคศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โดยแบ่งการทดลองเป็น 5 วงรอบ เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยน ใช้การทดสอบ ฟรีดแมน (Friedman test) เพื่อหาความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้าน และใช้การทดสอบของวิลคอกซัน (Wilcoxon) ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่แบ่งตามตัวชี้วัด 4 ด้านของการทดลองทั้ง 5 วงรอบ จากนั้นใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยน รายคู่ 3) ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินประสิทธิภาพระบบการสอนฯ และการประเมินความเหมาะสมของระบบการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีชื่อเรียกว่า “Novel & adaptive thinking instructional system” องค์ประกอบของระบบการสอนฯ มี 5 ขั้น คือ 1) เรียนรู้ปัญหา 2) แสวงหาคำตอบ 3) กระตุ้นคิดสิ่งใหม่ 4) ทดลองใช้สิ่งใหม่ และ 5) สรุปและประเมินผล โดยทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยน ประกอบด้วยตัวชี้วัด 4 ด้าน คือ 1) ด้านการคิดปรับปรุง 2) ด้านการคิดดัดแปลง 3) ด้านการคิดสร้างสรรค์ และ 4) ด้านการคิดประยุกต์ 2. การประเมินทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ด้วยวิธีการนำค่าเฉลี่ยทักษะ การคิดใหม่และปรับเปลี่ยน มาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ จำนวน 10 คู่ จากการทดลองใช้ทั้งหมด 5 วงรอบค่าเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยผลการทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า มีความแตกต่างจำนวน 9 คู่ และไม่มีความแตกต่างจำนวน 1 คู่ 3. ระดับการประเมินความเหมาะสมของระบบการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 ท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.51
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subject โสตทัศนศึกษา
dc.title ระบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดใหม่และปรับเปลี่ยนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
dc.title.alternative Development of instructionl system for novel nd dptive thinking skills development by using informtion communiction nd technology for techer students, rmbhi brni rjbht university
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to develop the instructional system for novel and adaptive thinking skills development by using the process of information, communication and technology for teacher education students, Rambhai Barni Rajabhat University. The research procedure consisted of three main steps: 1) constructing an instructional system; beginning with content analysis relevant to the documents and related research in order to create a prototype instructional system, verifying the quality of the instructional system prototype by a focus group of 8 experts. The content validation and IOC were conducted for assessing the research tools by 5 experts. 2) Implementing the instructional system: the implementing of the developed instructional system was done through One-way repeated measured design within an action research. The sample was a group of 32 third year teacher students, Faculty of Education at Rambhai Barni Rajabhat University who took the course of Innovation and Communication Technology for Education. The implementations were done in the first semester of the academic year 2016. The implementation was done in 5 cycles, the tools of this research were measurement of novelty and adaptive thinking skills using Wilcoxon signed rank test to compare the difference of 4 indicators. Then use the method of Scheffe to compare the average score of novelty and adaptive thinking skills, then evaluate and improve the instructional system: the evaluating was to find the efficiency of the instructional system. The instructional system efficiency evaluation was done, though 8 experts. The results were that; 1. The developed instructional system for novel and adaptive thinking skills development using information, communication and technology for teacher students at Rambhai Barni Rajabhat University was called “Novel&Adaptive Thinking Instructional System” featuring of 5 steps: 1) Learning the problem 2) Quest answers 3) Stimulate new ideas 4) Trial innovation/ newness and 5) Summary and evaluation. The novelty and adaptive thinking skills compossed of 4 indicators: 1) Reorganization thinking 2) Adaptation thinking 3) Invention thinking and 4) Application thinking 2. Measurement of the novelty and adaptive thinking skills development using information, communication and technology for teacher students at Rambhai Barni Rajabhat University was done by considering the comparison of each pair of 10 means of adaptive novelty thinking in 5 cycles of implementation. The means show the improvement tendency. The results of the test were statistically significant at the .05 level; there were 9 pairs differences and 1 pair no difference. 3. The instructional system efficiency evaluation was done by 8 experts with the average score of 4.51, representing the highest level of efficiency.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account