DSpace Repository

การเพิ่มความจำตามแผนของผู้สูงอายุโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองที่บูรณาการการฝึกกระบวนการร่วมกับการฝึกกลยุทธ์ทางปัญญา

Show simple item record

dc.contributor.advisor พีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.advisor สุชาดา กรเพชรปาณี
dc.contributor.author อเนก พุทธิเดช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:13:00Z
dc.date.available 2023-05-12T06:13:00Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7878
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ความจำตามแผน เป็นความสามารถในการจดจำสิ่งที่จะต้องกระทำหรือดำเนินการด้วยความตั้งใจตามแผนในเวลาที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองที่บูรณาการการฝึกกระบวนการร่วมกับการฝึกกลยุทธ์ทางปัญญา สำหรับเพิ่มความจำตามแผนของผู้สูงอายุ และศึกษาผลของการฝึกด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนตอบถูกและระยะเวลาตอบสนองขณะทำแบบทดสอบความจำตามแผน ก่อนกับหลัง การฝึกระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุ จากศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 คน อายุระหว่าง 60-80 ปี สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองที่บูรณาการการฝึกกระบวนการร่วมกับการฝึกกลยุทธ์ทางปัญญา และแบบทดสอบวัดความจำตามแผน กลุ่มทดลองใช้ระยะเวลาในการฝึก จำนวน 16 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test, Shapiro-Wilk และ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเลือกแผนกิจวัตร 2) การจำแผนกิจวัตร 3) การดำเนินตามแผนกิจวัตร 4) การเลือกกิจวัตรเป้าหมาย และ5) การแสดงผล และหลังการฝึกด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีคะแนนความจำตามแผนสูงกว่า และใช้ระยะเวลาตอบสนองน้อยกว่า เมื่อเทียบกับก่อนการฝึก และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p < .05) สรุปได้ว่า การฝึกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองที่บูรณาการการฝึกกระบวนการร่วมกับการฝึกกลยุทธ์ทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเพิ่มความจำตามแผนของผู้สูงอายุได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความจำ
dc.subject ความจำในผู้สูงอายุ
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ความจำ
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.title การเพิ่มความจำตามแผนของผู้สูงอายุโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองที่บูรณาการการฝึกกระบวนการร่วมกับการฝึกกลยุทธ์ทางปัญญา
dc.title.alternative Enhncing prospective memory mong the elderly using cognitive process nd strtegy bsed trining progrm
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Prospective memory is the ability to plan and successfully execute delayed intentions in the future. It is essential for daily living of individuals, especially activities of daily living of older adults. This study aimed to develop a cognitive process and strategy-based training program in older adults, and to investigate the effect of the developed cognitive process and strategy-based training program by comparing the response accuracy score and response time on prospective memory tests before and after the training program. Sixty elderly attending at the Watsanawet Social Welfare Development Center for Older Persons Ayutthaya Province, aged between 60 and 80 Years. They were randomly assigned to experimental and control groups. The instruments consisted of the cognitive process and strategy-based training program and the prospective memory tests. The experimental group underwent the cognitive process and strategy-based training program for half an hour per day for 16 days. Data were analyzed by t-test, Shapiro-Wilk, and MANOVA. The results demonstrated that the developed program composed of 5 steps: 1) choosing activities, 2) remembering activities, 3) performing activities, 4) choosing target activities, and 5) showing outputs. The posttest mean of response accuracy on prospective memory tests from the experimental group was significantly higher than the pretest mean and the response time was also significantly faster than the pretest mean (p < .05). In comparison to the control group, the posttest mean of response accuracy on prospective memory tests from the experimental group was significantly higher and the response time was significantly faster (p < .05). In conclusion, the continuing cognitive process and strategy-based training program is able to increase the prospective memory of older adults.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account