DSpace Repository

ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อคำภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.advisor กนก พานทอง
dc.contributor.advisor พีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.author นิภาพร อางควนิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:58Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:58Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7871
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract อารมณ์ด้านการมีอิทธิพลเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่ออารมณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันทางเพศและบุคลิกภาพ ส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้หรือไม่ได้ และมีอารมณ์กลัวหรือไม่กลัวต่อสิ่งแวดล้อมนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง ขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล มาตรวัดอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง NeuroScan กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ two way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ๆ ละ 14 สิ่งเร้า ตามลักษณะอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล คือ ลักษณะกลัวและลักษณะไม่กลัว 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นเพศหญิงมีอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัวมากกว่าผู้ใหญ่ตอนต้นเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะกลัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะกลัวและลักษณะไม่กลัว ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงแตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง PO7 ถึง PO8 และ O1 ถึง O2 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย ที่ตำแหน่ง PO5, PO3, POz และ PO4 บริเวณสมองส่วนกลาง (Central Lobe) ที่ตำแหน่ง C3, C6, CP5, CP1 และ CP6 และบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F3 และ FC3 สรุปได้ว่า ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีเพศต่างกันมีอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัวขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัวแตกต่างกัน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject ภาษากับความรู้สึก
dc.subject อารมณ์
dc.subject บุคลิกภาพ
dc.title ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อคำภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
dc.title.alternative The effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl dominnce of thi words nd digitized sounds: behviorl nd event-relted potentil study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Dominance emotion results in environmental influences on individual emotion which is different in gender and personality. Dominance emotion affects their own abilities to control emotion and respond to stimuli (e.g. fear). The objectives of this research were to design emotional dominance of Thai words and digitized sounds tasks, and to then study emotional dominance in both behavioral and neurophysiological levels (brainwaves) classified by gender and personality. Research instruments included the Self-Assessment Mankin (SAM) for the dominance dimension, and the NeuroScan system. Participants were 80 undergraduate students in the academic year 2017, Burapha University. Data were analyzed using a two-way analysis of variance. The results showed that: 1. The tasks consisted of Thai words and digitized sound tasks in two blocks: uncontrolled and controlled. Each block contained 14 tasks. 2. Females showed a higher uncontrolled emotion during the tasks than males (p<.05). There was a significant interaction between gender and personality on uncontrolled emotion (p<.05). 3. The brainwaves of males and females were significantly different in both uncontrolled and controlled conditions at occipital lobes: PO7, PO8, O1, and O2. An interaction between gender and personality was found in occipital lobes: PO5, PO3, POz and PO4, in the central lobes: C3, C6, CP5, CP1 and CP6, and in frontal lobes: F3 and FC3. It may be concluded that personality affects emotional dominance, especially uncontrolled emotion.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account