dc.contributor.advisor |
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์ |
|
dc.contributor.advisor |
สุชาดา กรเพชรปาณี |
|
dc.contributor.author |
ชูชาติ ศิริปัญจนะ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:12:57Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:12:57Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7869 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทของโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหา เชิงบวก ออกแบบกิจกรรมทดสอบการรู้จำโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวกและเปรียบเทียบผลของโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวกต่อความจำระยะกลาง และความจำระยะยาว ด้วยกิจกรรมทดสอบการรู้จำ และการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิด ERPs (Event Related Potentials) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 คน ประกอบด้วย เพศชาย จำนวน 42 คน และเพศหญิง จำนวน 18 คน อายุระหว่าง 19-24 ปี วิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบ One-way ANOVA Repeated Measure ผลการทดสอบด้วยกิจกรรมทดสอบการรู้จำช่วงความจำระยะกลาง ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องของเนื้อหาประเภท Joy มากกว่าเนื้อหาประเภท Love และ Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลตรวจการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิด ERPs ปรากฏว่า P300 แอมพลิจูดของเนื้อหาประเภท Joy ต่ำกว่าเนื้อหาประเภท Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนกลาง (Central) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ (Temporal) ที่บริเวณเปลือกสมองด้านข้าง (Parietal) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital) แสดงว่าการจดจำเนื้อหาประเภท Joy สามารถจดจำได้ดีกว่าเนื้อหาประเภท Contentment ในส่วน P300 แอมพลิจูดของเนื้อหาประเภท Love ต่ำกว่าเนื้อหาประเภท Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital) แสดงว่าการจดจำเนื้อหาประเภท Love สามารถจดจำได้ดีกว่าเนื้อหาประเภท Contentment ส่วนผลการทดสอบช่วงความจำระยะยาว ปรากฏว่า สอดคล้องกับการทดสอบช่วงความจำระยะกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องของเนื้อหาประเภท Joy มากกว่าเนื้อหาประเภท Love และ Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) แสดงให้เห็นว่าโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่เนื้อหาประเภท Joy ทำให้ผู้ชมเกิดการจดจำได้ดีกว่าเนื้อหาประเภท Love และ Contentment |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การสูบบุหรี่ |
|
dc.subject |
การเลิกบุหรี่ |
|
dc.subject |
Health Sciences |
|
dc.subject |
บุหรี่ -- โฆษณา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.title |
ผลของโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวกต่อความจำระยะกลางและความจำระยะยาวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ |
|
dc.title.alternative |
Effect of positive content in nti-smoking cmpign on intermedite nd long-term memory mong undergrdute students: n even-relted potentil study |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of th e research w ere to analyze th e ty p es of positive c o n ten t found in anti-smoking campaign, to design a recognition task for th e positive co n ten ts in anti-smoking cam paign, and to com pare th e effects of positive content in anti-smoking campaigns on intermediate and long-term memory with recognition tasks and Event Related Potentials. The sam ples w ere 60 undergraduate stu d en ts (42 m ales and 18 fem ales) aged 19-24 years old from Burapha university. The data w ere analyzed by using One-way ANOVA R epeated M easure The result of the recognition task by percentage of correct in intermediate-term memory showed that the samples performed significantly (p< .05) better in Joy content than Love and Contentm ent contents, The results of ERPs showed that P300 Amplitude of Joy content was significantly (p< .05) lower than Contentm ent content in Frontal area, Central area, T em poral area, Parietal area, and Occipital area. It was concluded th a t th e memorizing in Joy c o n ten t was b e tte r than C o n ten tm en t co n ten t. P300 A m plitude of Love c o n ten t was significantly (p< .05) lower than Contentm ent content in Occipital area. It was concluded th a t th e memorizing in Love co n te n t was b e tte r than C o n ten tm en t co ntent. The results of recognition task in long-term memory, measured by percentage of correct, corresponded to th e results in intermediate-term memory. The result showed that the samples performed significantly (p< .05) better in Joy content than Love and Contentm ent contents. From all conclusions, these findings indicate that Joy content in anti-smoking campaign affect the memorizing of th e audiences than Love and Contentm ent contents |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปร.ด. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|