DSpace Repository

อิทธิพลของการได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisor วรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.author จารุวรรณ จันทร์แจ้ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:56Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7862
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยลดผลลัพธ์ที่ไม่ดีต่อการตั้งครรภ์ของภรรยาและทารกในครรภ์ ได้แก่ ในประเทศไทยยังพบการปฏิบัติ พฤติกรรมดังกล่าวน้อย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์และอิทธิพลของการได้รับข้อมูลการรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่าง คือ สามีของสตรีตั้งครรภ์แรกที่ภรรยามารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล จำนวน 85 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่สามีมีพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์ดี โดยพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ งด/ลดใช้สารเสพติด (ร้อยละ 95.3) งด/ลดสูบบุหรี่ (ร้อยละ 88.2) งด/ลดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 80) แต่พฤติกรรมที่สามีปฏิบัติเป็นส่วนน้อย คือ การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (ร้อยละ 34.1) การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน (ร้อยละ 36.5) การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 47.1) การได้รับข้อมูลการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ได้ ร้อยละ 19.9 (R 2 = .199, F3,8 1= 6.72, p< .01). การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์เป็นปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( = .29, p< .01). จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความรู้ กระตุ้น และรณรงค์ให้สามีของสตรีตั้งครรภ์เห็นความสำคัญในการเข้ารับบริการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภรรยาจะตั้งครรภ์โดยเฉพาะในเรื่องการเข้ารับบริการที่คลินิกการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภรรยาจะตั้งครรภ์การเข้ารับบริการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject สูติศาสตร์
dc.subject ครรภ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.title อิทธิพลของการได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์
dc.title.alternative The influences of informtion received,perceived benefits nd perceived brriers on preconception helth behvior mong husbnds of pregnnt women
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Health preparatory behavior of pregnant women’s husbands is an important factor to reduce the negative effects of pregnancy of the wife and the fetus. However health behavior readiness of the husbands is still below expectation in Thailand. The purpose of this research is to study readiness, preparation, and influence of information training and perception about benefits and barriers towards health behavior preparedness of husbands of pregnant women. The sample included thehusbands of pregnant wives who attended antenatal clinic at Bangpakok 9 International Hospital. The sample was recruited by using a convenient sampling method. Descriptive and multiple regression statistics were used for data analyses. The results showed that health preparatory behavior of the husbands of pregnant women was in a high level. The most common practiced behaviors of the husband were abstinence of addictive substance (95.3%), abstinence / reduction of smoking (88.2%), abstinence / reduction of alcohol consumption (80%). Less practiced behaviors included Hepatitis B vaccination (34.1%), genetic disorder and disease screening (36.5%) and sexually transmitted disease screening (47.1%). Information perceived, benefits’, and barriers’ perception of husbands of pregnant women could together predict health preparatory behaviors of these husbands for 19.9% (R 2 = .199, F3,81= 6.72, p< .01). Information obtaining about premarital preparation of husbands was the only factor which has a significant influence on premarital preparatory behavior of the wife ( = .29, p< .01). The results suggest that nurses and health personnel should provide education, stimulate and encourage the husbands to aware of the importance of getting ready before their wives get pregnant, especially accessing to clinical services before their wives get pregnant, Hepatitis B vaccination, screening for genetic diseases and diseases caused by genetic disorders and screening for sexually transmitted diseases.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การผดุงครรภ์
dc.degree.name พย.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account