DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภาภรณ์ ด้วงแพง
dc.contributor.advisor วัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.author พัชรินทร์ วรรณโพธิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7861
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การมีกิจกรรมทางกายภายหลังการได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ มีความสำคัญยิ่งในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลได้แก่ ความรุนแรงของโรคความฉลาดทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมต่อกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 89 ราย เป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาติดตามที่ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจจัยเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง ได้แก่ แบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกาย มีค่าความเชื่อมั่น ของสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .82, .85, .71 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงของโรคเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดของกิจกรรมทางกาย (Beta= .562) รองลงมาคือการสนับสนุนทางสังคม (Beta= .230) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (Beta = .196) ปัจจัยทั้งสามนี้มีอิทธิพลและสามารถร่วมกันทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 55.0 (R 2 = .550, F = 34.606, p< .001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางหรือโปรแกรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยนั้นสามารถทำกิจกรรมทางกายได้อย่างเหมาะสม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subject กล้ามเนื้อหัวใจตาย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.subject Health Sciences
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ
dc.title.alternative Fctors influencing physicl ctivity mong ptients with cute myocrdil infrction receiving percutneous coronry intervention
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Physical activity after receiving percutaneous coronary intervention is very important to prevent recurrent myocardial infarction. This correlational predictive research aimed to determine factors influencing physical activity among patients with acute myocardial infarction (AMI) after receiving percutaneous coronary intervention, including severity of illness, health literacy, self-efficacy, and social support. A simple random sampling was used to recruit a sample of 89 AMI patients who received follow-up treatment at Outpatient Department of Internal Medicine, Prapokklao hospital in Chanthaburi province. Data were collected from August to October 2017. Research instruments were self-report questionnaires including questionnaires of health literacy, self-efficacy perception, social support, and physical activity. Their reliability of Cronbach’s alpha were .82, .85, .71, and .81, respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze the data. The results revealed that severity of illness was the most influencing on the physical activity (Beta = .562), and the followings were social support (Beta = .230) and self-efficacy (Beta = .196). These three factors have influenced and together accounted for 55.0% in the prediction of physical activity among AMI patients after receiving percutaneous coronary intervention (R 2 = .550, F = 34.606, p< .001) These findings indicate that nurses who care for AMI patients after receiving percutaneous coronary intervention could utilize to develop a guideline or a nursing intervention to enhance the patients to have appropriated physical activity.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account