DSpace Repository

ปัจจัยทำนายความว้าเหว่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พักรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ยุพิน ถนัดวณิชย์
dc.contributor.advisor วัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.author ลัดดาวัล ฟองค์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:54Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:54Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7854
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการเกิดความว้าเหว่ อันเป็นผลมาจากการเจ็บป่วย และอาจส่งผลกระทบด้านสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวและบุคคลในสังคมได้การศึกษา หาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความว้าเหว่และปัจจัยทำนายความว้าเหว่ (ได้แก่ ความเครียด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความปวด) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การฉายรังสี และ/ หรือการผ่าตัดที่หอผู้ป่วยสามัญหญิง หอผู้ป่วยสามัญชาย และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตและศัลยกรรม โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 77 รายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความว้าเหว่ 3) แบบประเมินความเครียด 4) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และ 5) แบบประเมินความปวดได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficients) ของแบบประเมินความเครียด แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบประเมินความว้าเหว่ เท่ากับ .83, .88 และ .95 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมินความปวดมีค่าความคงที่แบบวัดซ้ำ (Test-retest reliability) เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคมะเร็งในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี มีความว้าเหว่ ( ̅= 68.18, SD =6.73) และความเครียด ( ̅= 24.97, SD =5.42) ในระดับปานกลาง ส่วนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในระดับสูง ( ̅= 34.48, SD =4.54) และมีความปวดที่มีความรุนแรงในระดับต่ำ ( ̅= 3.39, SD =2.26) ความเครียดเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายความว้าเหว่ของกลุ่มตัวอย่าง (R 2 = .156, p < .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญทำความเข้าใจ และหาแนวทางจัดการความเครียดเพื่อป้องกันความว้าเหว่ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การรักษา
dc.subject มะเร็ง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.subject มะเร็ง -- โรค
dc.subject Health Sciences
dc.title ปัจจัยทำนายความว้าเหว่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พักรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
dc.title.alternative Fctorspredicting loneliness of hospitlized cncer ptients in chonburi cncer hospitl
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Most of cancer patients are at risk to experience loneliness resulting from their illness which may affect their relationships with family members and others in society. This predictive correlational research aimed to study the loneliness of hospitalized cancer patients in Chonburi cancer hospital and its predictive factors (e.g. stress, self-esteem, and pain). Sample random sampling was used to recruit the sample. Cancer patients receiving chemotherapy, radiation, and/ or surgery who were admitted to the female unit, male unit, and semi-intensive care unit in Chonburi cancer hospital and met the inclusion criteria participated in this study. The sample size was 77. This study applied 5 questionnaires for data collection: 1) Personal information, 2) Thai version of 10-Item Perceived Stress Scale, 3) Rosenberg’s Self-Esteem Scale, 4) Loneliness Scale, and 5) Pain Numeric Ratting Scale. Cronbach’s alpha coefficients for the Thai version of Perceived Stress Scale, Rosenberg’s Self-Esteem Scale, and Loneliness Scale were .83, .88, and .95 respectively. The Pain Numeric Rating Scale was tested by the test-retest method (r= .98). Descriptive statistics and Stepwise multiple regression were employed for data analyses. The results demonstrated that the cancer-patient sample had moderate level of both loneliness ( ̅= 68.18, SD = 6.73) and stress ( ̅= 24.97, SD =5.42). However, they had the high level of self-esteem ( ̅= 34.48, SD =4.54) and low severity level of pain ( ̅= 3.39, SD =2.26). Stress is the only one factor that could significantly predict loneliness (R 2 = .156, p<.001). This study suggests that cancer patients who had stress tended to experience loneliness. Therefore, nurses should recognize, understand, and investigate how to manage stress in order to prevent loneliness among hospitalized cancer patients
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account