DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
dc.contributor.advisor พรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.author ศรีสรลักษ์ สุมงคล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7849
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ทุกชนิด การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและการสุ่มแบบง่ายจากผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง จำนวน 95 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินภาวะโรคร่วมตามการจำแนกผู้ป่วยตามสภาวะร่างกายแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทยแบบประเมิน ความปวดโดยใช้มาตรวัดความปวดแบบตัวเลข และแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังคิดเป็นร้อยละ 33.7 ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (rs= .66, p < .01) อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (rs = .64, p< .01) ระดับความดันโลหิตระหว่างผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (rs= -.55, p< .01) และระดับของโซเดียมในเลือดหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (rs= -.51, p< .01) กับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศความรุนแรงของการจ็บปวดหลังผ่าตัดและภาวะโรคร่วม มีความสัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb= -.03, p= .75, rs= .03, p= .40, rs= .03, p= .40) ตามลำดับ ทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน หลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผลการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน แนวทางปฏิบัติการพยาบาลหรือโปรแกรมการพยาบาลโดยให้ความสำคัญ เกี่ยวกับการจัดการภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัดการประเมิน และแก้ไขระดับโซเดียมในเลือดหลังผ่าตัดให้อยู่ในภาวะสมดุล รวมทั้งควบคุมระดับความดันโลหิตในระหว่างผ่าตัดให้คงที่โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอายุมาก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กระดูกสันหลัง -- โรค -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subject กระดูกสันหลัง
dc.subject Health Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
dc.title.alternative Fctors relted to postopertive delirium in older dults undergoing spinl surgery
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Postoperative delirium is often a dangerous complication in older adults undergoing surgery. This correlation descriptive research aimed to study the factors related to postoperative delirium in older adults with post spinal surgery. Stratified random sampling and simple random sampling were used to recruit 95 patients with spine surgery. The research instruments are a personal data form, the American Society of Anesthesiologists classes score, the Thai Geriatric Depression Scale, the Numeric Rating Scale and the Thai Delirium Rating Scale. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Point bi-serial correlation and Spearman rank-order correlation coefficient. The results showed that 33.7% of the elderly patients undergoing spinal surgery had postoperative delirium. The association between postoperative delirium and its correlated factors showed that the depression was positively moderate (rs= .66, p< .01). Age was positively moderate (rs= .64, p< .01). The mean blood pressure level of intra-operative was negatively moderate (rs= -.55, p< .01) and the level of sodium electrolyte imbalance in post-operative stage was negatively moderate (rs= -.51, p< .01) correlated with postoperative delirium in older adults undergoing spinal surgery with statistically significant at level .01. However, there were no statistically significant relationships between sex, severity of postoperative pain and co-morbidity with postoperative delirium in older adults undergoing spinal surgery at level .05 (rpb= -.03, p= .75, rs= .03, p= .40, rs= .03, p= .40) Health care teams should focus on assessing postoperative delirium in older adults undergoing spinal surgery. The results can be used as a basis for clinical nursing practice guideline and nursing programs by focusing on the management of preoperative depression, and the assessment to correct postoperative serum sodium levels in balance, including to control blood pressure to be stable especially with the older adults in order to prevent further postoperative delirium
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account