DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
dc.contributor.advisor พรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.author นงลักษณ์ พรมมาพงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7847
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ความกลัวการหกล้ม เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียความมั่นใจในตนเองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอย่างปลอดภัย และหลีกหนีการทำกิจกรรมจนทำให้ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความกลัวการหกล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลแบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมิน อาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทยแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทยแบบประเมินภาวะโรคร่วม แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และการทดสอบความสามารถในการทรงตัว โดยการยืนต่อเท้าเป็นแนวเส้นตรงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน แรงค์ออเดอร์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ ไบซีเรียล ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความกลัวการหกล้ม (ร้อยละ 82.9) โดยกลัวการหกล้มในระดับมาก (ร้อยละ 85.3) ความสามารถในการทรงตัวมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (r s = -.327, p = < .01) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับตํ่า (r s = -.248, p= .003; r s = -.223, p= .007) กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เพศหญิง ภาวะซึมเศร้าและประสบการณ์ การหกล้มมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่า (r pb= .200, p= .013; r s = .194, p= .016; r s = .184, p= .021) กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนภาวะโรคร่วมมีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บุคลากรทางด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความมั่น ใจในการเคลื่อนไหวอย่างปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยสูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว การเพิ่มระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ และจัดการกับภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุเพศหญิงที่มีประสบการณ์การหกล้ม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Health Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.subject การหกล้มในผู้สูงอายุ
dc.subject ผู้ป่วยสูงอายุ
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ
dc.title.alternative Fctors relted to fer of flling mong older dult ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Fear of falling is one of common causes movement in among older adults. leading to loss of self-confidence in safely the elderly, which contributes to avoidance of activities resulting in performing activity ability declines ability declines. The objectives of this research were to study the level of fear of falling and factors related to fear of falling among older adult patients. The sample of 123 older adult patients admitted to inpatient department in community hospitals in Nakhon Ratchasima province and met inclusion criteria were randomly selected by stratified random sampling and simple random sampling. The research instruments included an Interview personal data form, Health status perception, Thai Fall Efficacy Scale-international, Thai Geriatric Depression Scale, Charlson’s Comorbidity Index, The Modified Barthel Activities of Daily Index, and Sharpened Romberg Test. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation,Spearman rank-order correlation coefficient and Point biserial correlation coefficient. The results revealed that the majority of the sample had fear of falling (82.9%). The level of fear of falling was at most level (85.3%). Gait and balance ability was moderate negatively correlated (r s = -.327, p= < .01), activities daily living and health status perception were low negatively correlated (r s = -.248, p= .003; r s = -.223, p= .007) with fear of falling among older adult patients statistically at the significant level of .01. Female, depression and fall experiences were low positively correlated (r pb= .200, p= .013; r s = .194, p= .016; r s = .184, p = .021) with fear of falling among older adult patients at the significant level of .05. However, co-morbidity did not statistically relate with fear of falling among older adult patients at the significant level of .05. Health care providers should pay attention in fear of falling among older adult patients. They should develop program to promote confidence in movement for older adult patients. By emphasizing on increasing ability of gait and balance, increasing the levels of health status perception and managing the state of depression. especially in elderly women with fall experience.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account