Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ กรณีศึกษาบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น ซึ่งจะทําการศึกษาในเรื่องศักยภาพของแหล่งก๊าซชีวภาพว่ามีปริมาณเพียงพอที่จะติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดใดโดยการพยากรณ์ปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดและที่ใช้ในกระบวนการอบยางพารา เพื่อหาปริมาณก๊าซชีวภาพที่เหลือในการผลิตไฟฟ้าโดยจะเลือกวิธีพยากรณ์ที่มีค่า MSE น้อยที่สุด ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ (Sensitivity analysis) จากผลการวิจัยพบว่า วิธีที่ควรจะนํามาพยากรณ์ คือ วิธี Stationary data with additive seasonal effects เนื่องจากมีค่า MSE น้อยที่สุด จากการพยากรณ์พบว่า ปริมาณก๊าซชีวภาพคงเหลือเพียงพอที่จะป้อนให้เครื่องผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพขนาด 2 MW ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์พบว่าโครงการสามารถลงทุนได้เนื่องจากโครงการมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (NPV) มีค่าเท่ากับ 98,532,882 บาท อัตราส่วนระหว่างกำไรต่อทุน (B/C ratio) เท่ากับ 1.22 อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 16% ระยะเวลาคืนทุนแบบอัตราคิดลด (Discounted payback period) เท่ากับ 4.03 ปี (ที่อัตราคิดลดมีค่าเท่ากับร้อยละ 10 และมีอายุโครงการเท่ากับ 10 ปี) และเรื่องการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของ โครงการนั้น พบว่า อัตรารับซื้อและกำลังผลิตของเครื่องจักรมีผลกับโครงการมากที่สุด ประโยชน์ของการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP2015) ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจากพลังงานทดแทนของประเทศไทยเป็นร้อยละ 25 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด และยังสามารถเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน