DSpace Repository

การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบล

Show simple item record

dc.contributor.advisor สิริกรานต์ จันเปรมจิตต์
dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.author อนงค์นาถ ติ่งแตง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:07:57Z
dc.date.available 2023-05-12T06:07:57Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7802
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง ความสามารถของ แหล่งท่องเที่ยวในการบูรณาการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ การจัดการ การสร้างนวัตกรรม และการมอบคุณภาพบริการที่ดีกว่าแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบล ด้วยเทคนิคเดลฟายอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 รอบ กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน 2) พัฒนาโปรแกรมประเมินแบบออนไลน์ ด้วยภาษา PHP และ 3) เปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับรางวัลกินรีกับองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่ได้รับรางวัล วิเคราะห์ผลการประเมินด้วยสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย 7 ด้าน 24 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการจัดการท่องเที่ยว (4 ตัวบ่งชี้) 2) ด้านภาวะผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลและทุนมนุษย์ (2 ตัวบ่งชี้) 3) ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยว (3 ตัวบ่งชี้) 4) ด้านตลาดการท่องเที่ยว (4 ตัวบ่งชี้) 5) ด้านคุณค่าและการจัดการความรู้การท่องเที่ยว (2 ตัวบ่งชี้) 6) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (4 ตัวบ่งชี้) และ 7) ด้านศักยภาพการแข่งขันการท่องเที่ยว (5 ตัวบ่งชี้) ความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน) ถึงระดับที่ 5 (ดีมาก) 2. โปรแกรมประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลแบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับรางวัลกินรีกับองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่ได้รับรางวัล ชี้ให้เห็นว่า ความสามารถในการแข่งขันขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับรางวัลกินรีสูงกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่ได้รับรางวัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบล
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ไทย -- การท่องเที่ยว
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.title การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบล
dc.title.alternative The development of ssessment criteri in competitiveness of sustinble tourism of subdistrict dministrtion orgniztion
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The competitiveness of sustainable tourism means the ability of tourism to integrate value-added products, management, innovation, and service delivery so as to be better than that of other competitors. The purposes of this research were: 1) to develop criteria for assessing the competitiveness of sustainable tourism of subdistrict administration organization using the e-Delphi technique involving twenty experts; 2) to develop an online assessment program by applying the PHP programming language; and 3) to compare the competitiveness of sustainable tourism levels between the awarded subdistrict administration and the non-awarded subdistrict administration. Data were analyzed using the Mann-Whitney U test. The results were as follows: 1. The developed criteria for assessing the competitiveness of sustainable tourism of subdistrict administration organization contained seven components with 24 indicators. Those were: 1) tourism management (4 indicators); 2) leadership of subdistrict administration organization and human capital (2 indicators); 3) tourism product and service innovation (3 indicators); 4) tourism marketing (4 indicators); 5) value and tourism knowledge management (2 indicators); 6) sustainable tourism development (4 indicators); and 7) tourism destination competitiveness (5 indicators). They were categorized into five levels ranking from needs improvement to very good. 2. The developed online program for assessing the competitiveness of sustainable tourism of subdistrict administration organization was judged to be acceptable. 3. The comparison of the competitiveness of sustainable tourism of subdistrict administration organization between the awarded subdistrict administration and the non-awarded subdistrict administration showed that the awarded subdistrict administration organization had higher levels than the non-awarded subdistrict administration organization (p < .01). It can be concluded that the developed assessment criteria for the competitiveness of sustainable tourism are appropriate for use in assessing the competitiveness of sustainable tourism of the subdistrict administration organization.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account