Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการของสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บริการสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามคุณภาพบริการสถานกีฬาและสุขภาพ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .95 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI) และตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผลการวิจิจัยพบว่า 1. คุณภาพบริการที่คาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกับคุณภาพบริการที่เป็นจริงโดยรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของคุณภาพบริการที่คาดหวัง พบว่า การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยคุณภาพบริการที่คาดหวังน้อยที่สุด แต่คุณภาพบริการที่เป็นจริง พบว่า ด้านการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬาอยุ่ในระดับปานกลางและด้านการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. เมื่อเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นที่ต้องการปรับปรุงเรียงจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬา ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานที่ออกกำลังกายอุปกรณ์และพื้นที่อำนวยความสะดวก ด้านราคาและกิจกรรมที่ได้รับ ด้านความเชื่อถือ/ ความไวว้างใจในการจัดระบบการจัดการสถานที่ออกกำลังกาย ด้านความเชื่อมั่นในความสามารถและการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และด้านความมีอัธยาศัยและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ประจำสนาม 3. ผู้วิจัยนำผลมาสร้างแนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลยัเทคโนโลยีสุรนารีในแต่ละด้านได้ดังนี้ด้านการจัดการ ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน มีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามนโยบาย พันธกิจวิสัยทัศน์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงาน 2) ด้านการจัดองค์กร มีการกำหนดโครงสร้างและหน้าที่อย่างชัดเจน 3) ด้านการนำ/ การปฏิบัติ มีการประชุม ตรวจสอบการดำเนินงาน รวมทั้งกระตุ้นและส่งเสริมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 4) ด้านการควบคุม มีการติดตามประเมินผล การทำงานของบุคลากรและเจ้าหน้าที่รวมทั้งการจัดการสำรวจประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทุกปีและด้านการส่งเสริมการตลาด ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้มีกิจกรรมและโครงการ 2) การจัดระเบียบพื้นที่และความปลอดภัย 3) จัดช่องทางการชำระค่าบริการที่สะดวกรวดเร็วและกำหนดค่าบริการที่เหมาะสม 4) มีระบบการปฐมพยาบาลที่ดี 5) พัฒนาบุคลากรให้มีจิตบริการและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 6) มีบริการตู้น้ำดื่ม 7) มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการสถานกีฬา เช่น การจองสนาม การบริการอินเทอร์เน็ตไวฟาย 8) เชื่อมโยงการประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานต่าง ๆ และใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา