Abstract:
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับผู้ตัดสินแบดมินตัน 3 ประการคือกำหนดองค์ประกอบ ตัวชี้วัดและเกณฑ์สมรรถนะสร้างและพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการประเมินสมรรถนะ เมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริงขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) สังเคราะห์ เอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญ 9 คน 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบ การประเมินผลและคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ 18 คน ด้วยเทคนิคเดลฟายประยุกต์ 3) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการประเมินฯ ไปใช้ในสถานการณ์จริงโดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ค่าดัชนีความสอดคล้องสถิติที่ใช้ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะผู้ตัดสินกีฬาแบดมินตัน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัด 21 แต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังนี้ 1) ด้านความรู้ มี 5 ตัวชี้วัด 2) ด้านทักษะ 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านคุณลักษณะ 2 ตัวชี้วัด 4) ด้านพฤติกรรม 3 ตัวชี้วัด และ 5) ด้านแรงจูงใจ 3 ตัวชี้วัด โดยในแต่ละตัวชี้วัดและรายการประเมินกำหนดเกณฑ์สมรรถนะในการผ่านอยู่ที่ระดับ 4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน รูปแบบการประเมินการกำหนดกรอบตามหน้าที่การจัดการคือ การวางแผน การจัดองค์กร การนำไปใช้ และการควบคุม โดยมีคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคภายใต้ความรับผดิชอบของสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้ดูแลและมีหน่วยงานย่อยภายใน จำนวน 5 หน่วยงาน ผลรูปแบบที่วิจัยสร้างขึ้นเป็นที่ยอมรับด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ และเมื่อนำรูปแบบฯ ที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง พบว่า มีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดในทุกประเด็นสามารถนำไปใช้ได้จริง