DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการทดสอบความเร็วสูงสุดแบบซ้ำเชิงแอนแอโรบิคสำหรับกีฬาฟุตซอล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง
dc.contributor.advisor วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.author ปิติรัฐ คงทองคำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:07:56Z
dc.date.available 2023-05-12T06:07:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7790
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและตรวจสอบความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัยของแบบทดสอบความเร็วสูงสุดแบบซ้ำเชิงแอนแอโรบิคส าหรับกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลชาย มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 30 คน โดยนำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้น 10 รูปแบบ มาหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพกับแบบทดสอบรันนิ่งเบสท์แอนแอโรบิคสปริ๊นท์ หาค่าความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์กับแบบทดสอบวินเกตแอนแอโรบิค หาค่าความเชื่อถือได้ โดยวิธีการทดสอบซ้ำหาค่าความเป็นปรนัย โดยใช้ผู้ประเมิน 2 ท่าน และหาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างกับแบบทดสอบวินเกตแอนแอโรบิคและแบบทดสอบรันนิ่งเบสท์ แอนแอโรบิคสปริ๊นท์ ด้วยวิธีการหลายลักษณะหลายวิธี โดยการทดสอบทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาห่างกัน 2 วัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า แบบทดสอบความเร็วสูงสุดแบบซ้ำที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทั้ง 10 รูปแบบ มีความเที่ยงตรงความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัยสำหรับประเมินสมรรถภาพด้านแอนแอโรบิค สำหรับกีฬาฟุตซอลอย่างมีนัยสำคัญ โดยรูปแบบการวิ่ง 15 เมตร 12 เที่ยว พักระหว่างเที่ยว 10 วินาทีมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุดในการประเมินพลังสูงสุดเชิงแอนแอโรบิค ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิค และดัชนีความล้า ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.91 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ เท่ากับ 0.894,0.951 และ 0.874 ตามลำดับ ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ เท่ากับ 0.729, 0.699 และ 0.806 ตามลำดับ ความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.915, 0.910 และ 0.861 ตามลำดับ และความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.911, 0.919 และ 0.875 ตามลำดับ และมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างกับแบบทดสอบมาตรฐาน สรุปว่า การทดสอบการวิ่ง 15 เมตร 12 เที่ยว พักระหว่างเที่ยว 10 วินาทีเป็นแบบทดสอบที่มีคุณภาพ เหมาะสมที่จะนำมาใช้ทดสอบสมรรถภาพด้านแอนแอโรบิคสำหรับนักกีฬาฟุตซอล
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ฟุตซอล
dc.subject ฟุตซอล -- การฝึก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.title การพัฒนารูปแบบการทดสอบความเร็วสูงสุดแบบซ้ำเชิงแอนแอโรบิคสำหรับกีฬาฟุตซอล
dc.title.alternative Development of repeted-sprint nerobic test for futsl: r-stf
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to develop patterns and to verify validity, reliability, and objectivity of repeated sprint anaerobic test for futsal. Thirty male futsal players from University of Phayao participated in this study. The Repeated-Sprint Anaerobic Test for Futsal: R-SATF 10 patterns assessed content validity of the test was to determine the index of item-objective congruence (IOC) verified by five experts in futsal. Concurrent validity with Running-based anaerobic sprint test, predictive validity with Wingate anaerobic test, test-retest for reliability and objectivity were tested by two raters, and construct validity with Wingate anaerobic test and Running-based anaerobic sprint test every other two days. The data were analyzed by using Pearson product moment correlation coefficient and coefficient of determination. Significance level was set at .05 for all statistical tests. The results showed that statistical significance in all R-SATF contained validity, reliability, and objectivity for assessing anaerobic fitness for futsal. The test pattern, 15 meters with 12 repetitions and 10 second period of rest, was highest coefficient for assessed anaerobic power, anaerobic capacity and fatigue index. Content validity was conducted by index of item-objective congruence (IOC = 0.91). It showed concurrent validity coefficient (r) = 0.894, 0.951 and 0.874; predictive validity coefficient (r) = 0.729, 0.699 and 0.806, respectively; reliability coefficient (r) = 0.915, 0.910 and 0.861; objectivity coefficient (r) = 0.911, 0.919 and 0.875, respectively; and construct validity coefficient with gold standard test. In conclusion, the R-SATF pattern 15 meters with 12 repetitions and 10 second period of rest were good quality of test. It could be concluded that the test can be able to measure the anaerobic fitness for futsal players.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account