dc.contributor.advisor |
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี |
|
dc.contributor.advisor |
วรรณี เดียวอิศเรศ |
|
dc.contributor.author |
กัลยา บัวบาน |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:24:48Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:24:48Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7781 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์ที่ทำการศึกษาวิจัย จำนวน 90 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติเป็นประจำมากที่สุด คือ การรับประทานวิตามินเสริมไอโอดีนที่ได้รับจากคลินิกฝากครรภ์วันละ 1 เม็ด (ร้อยละ 71.1) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติเป็นประจำน้อยที่สุด คือ การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเลเพิ่มขึ้น (ร้อยละ8.9) และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และรายได้ของครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 42.2 (R 2 =.422, p< .01) โดยการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์มากที่สุด (β = .614, p< .01) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนเพิ่มขึ้น และลดการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีบุตรมาก่อน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
โรคขาดสารไอโอดีน |
|
dc.subject |
ไอโอดีน |
|
dc.subject |
ครรภ์ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
dc.title.alternative |
Fctors ffecting iodine deficiency prevention behviors mong pregnnt women ttending ntentl cre clinic t regionl hospitl in the northestern region |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Lodine deficiency in pregnant women affects the pregnant woman and fetus. The objective of this research were to study the prevalence of iodine deficiency prevention behaviors among pregnant women and factors affecting iodine deficiency prevention behaviors among pregnant women. The samples was a qualified pregnant women who received antenatal care at the regional hospital. 90 subjects were randomly selected. Data were collected using the questionnaire developed by the researcher. Data were analyzed using descriptive statistics and standard multiple regression analysis. The research found that The prevalence of iodine deficiency prevention behavior in pregnant women most frequently was iodized vitamin intake received from antenatal clinic (71.1%).The prevalence of iodine deficiency prevention behavior in pregnant women was the lowest (i.e., iodine) intake (8.9%) and the perceived benefits of preventing iodine deficiency, The perceived barriers to prevention of iodine deficiency, Number of pregnancies and the income of pregnant women family prevalence of iodine deficiency prevention behaviors among pregnant women was 42.2% (R 2 =.422, p< .01). Perceived benefits of iodine deficiency prevention have the greatest influence on the prevalence of iodine deficiency prevention behaviors among pregnant women (β = .614, p< .01). The research suggests that there should be activities to help pregnant women recognize the benefits of preventing iodine deficiency and reduce the perceived barriers to iodine deficiency prevention. Especially in pregnant women who have had children before. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การผดุงครรภ์ |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|