DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพิศ ศิริอรุณรัตน์
dc.contributor.advisor ศิริวรรณ แสงอินทร์
dc.contributor.author ดวงพร ไมตรีจิตต์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:48Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:48Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7780
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งทางสรีระวิทยาและทางจิตใจ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จะเกิดผลกระทบมากขึ้นเป็นทวีคูณ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ความวิตกกังวลการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล สังกัดสภากาชาดไทย จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคลแบบวัดคุณภาพชีวิต SF-12 เวอร์ชัน 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ร้อยละ 81.50 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต เท่ากับ 64.10(SD = 15.42) ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.545, p< .01) ส่วนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง (r = .140 และ r= -.043, p>.05 ตามลำดับ) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ควรมีการสร้างโปรแกรมเพื่อลดความวิตกกังวลในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความดันเลือดสูง
dc.subject ความดันเลือดสูงขณะมีครรภ์
dc.subject ความวิตกกังวล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
dc.title.alternative Reltionships between heth cre behviors, nxiety, socil support nd qulity of life mong pregnnt women with pregnncy induced hypertension
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Pregnant women have dramatically changes in both physiological and psychological. These affect the daily life and quality of life of the women, especially pregnant women with pregnancy induced hypertension (PIH). This research aimed to study the quality of life of pregnant women with PIH and examine the relationships between health care behaviors, anxiety, social support and quality of life among pregnant women with PIH. Participants were 92 pregnant women with PIH who visited antenatal clinic of a hospital under supervision of the Thai Red Cross Society. Data were collected by the Short Form 12-item Health Survey version 2 (SF-12v.2), Health Care Behaviors of Pregnant Women with Hypertension questionnaire, State Anxiety Inventory, and the Multidimensional Social Support Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation. The results showed that 81.50% of pregnant women with PIH had quality of life at a good level. Mean score of quality of life quality was 64.10 (SD = 15.42). There was a moderate and negative correlation between anxiety and quality of life (r = -.545, p< .01). Health care behaviors and social support were not correlated with the quality of life of pregnant women with PIH (r= .140 and r=-.043, p>.05 respectively) This research suggests that that intervention program should be provided to reduce anxiety in pregnant women with PIH to improve their quality of life.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การผดุงครรภ์
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account