DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisor ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.author พัชร์ลดา ธำรงกาญจน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:47Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:47Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7776
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ความสําคัญในการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลด้านสุขภาพ พยาบาลได้นําผลงานวิจัยที่ค้นคว้ามาใช้มาช่วยด้านการตัดสินใจในการดูแลรักษาทางคลินิกและนําไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกห้องคลอดของโรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 5 จํานวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้และ ทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ แบบสอบถามการสนับสนุนในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และแบบสอบถามการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90, .75, .74 และ .71 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลห้องคลอดมีการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยรวมถูกต้องเหมาะสมค่อนข้างมาก (M = 35.16, SD = 3.91) ความรู้ในการ ปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และการสนับสนุนในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .322 และ r= .416 ตามลําดับ) ส่วนทัศนคติต่อการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่มีความสัมพันธ์การปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (r= -1.00, p = .279) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรส่งเสริมให้พยาบาลห้องคลอดมีความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์และให้การสนับสนุนแก่พยาบาลเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานโดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลของงานห้องคลอดต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.subject การคลอด
dc.subject การคลอด -- การดูแล
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 5
dc.title.alternative Fctors reltted to evidence-bsed prctice in norml birth cre of intrprtum nurses in hospitls, helth region 5
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Emphasis on evidence-based practice [EBP] in healthcare delivery increased the expectation that nurses utilize research findings to make informed clinical decisions, and guide their nursing actions. This research aimed to describe and examine factors related to evidencebased practice in normal birth care of intrapartum nurses in hospitals under supervison of Health region 5. The participants were 120 registered nurses working in delivery rooms of hospitals in Health region 5. Data were collected by self-report questionnaires including Demographic questionnaire, Questionnaires on Knowledge and Attitude toward Evidence-based Practice, Organization Support for Evidence-based Practicequestionnaire, and Evidence-based Practice in Normal Birth Care Questionnaire. The reliabilities of questionnaires were .90, .75, .74 and .71 respectively. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficients were computed to analyze data. Results of the study indicated that intrapartum nurses mostly provided normal birth care based on the evidence with total mean scores of 35.16 (SD = 3.91). Knowledge on evidencebased practice and support for evidence-based practice from organization were significantly and positively related to evidence-based practice in normal birth care of intrapartum nurses (r= .322, p < .05 and r = .416, p < .05 respectively). However, attitude towards evidence-based practice was not significantly related to evidence-based practice in normal birth care (r= -100, p = .279). The results suggested that administrators should enhance nurses’ knowledge about evidence-based practice and provide support for them to implement evidence-based practice which will help to improve quality of normal birth care.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account