DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.advisor วรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.author เกวลิน ถกลพัฒนกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:47Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:47Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7775
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract หญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีส่งผลเสียต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ อายุครรภ์ และความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายทางกาย กับคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ หญิงตั้งครรภ์ปกติที่มีอายุครรภ์ในระยะไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามมารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี จํานวน 132 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและการตั้งครรภ์ แบบสอบถามอาการไม่สุขสบายทางกายขณะตั้งครรภ์ และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 94.7 ของหญิงตั้งครรภ์ มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี โดยความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายทางกาย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับคุณภาพการนอนหลับ (r = .533, p < .001) ส่วนอายุและอายุครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ (r = -.100, p = .255; r = .124, p = .156) ผลการศึกษานี้ช่วยให้พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการนอนหลับและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์ปกติ และสามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์ต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.subject ครรภ์
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์
dc.title.alternative Fctors relted to sleep qulity in pregnnt women
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Poor quality of sleep in pregnant women has an impact on health to both pregnant women and fetus. This descriptive correlation research aimed to study the relationship between age, gestational age, severity of physical discomfort, and quality of sleep in pregnant women. The sample consisted of 132 normal pregnant women in the second trimester and the third quarter who received antenatal care at Chao Phraya Abhaibhub in Prachinburi province. Simple random sampling was used to recruit the sample. The research instruments consisted of personal information and pregnancy record, physical discomfort in pregnant women scale and Pittsburgh sleep quality index. Data were analyzed by descriptive statistics and Pearson's correlation analysis. The study indicated that 94.7 percent of these pregnant women have poor sleep quality. The severity of physical discomfort was significantly related to quality of sleep (r= .533, p< .001). Age of pregnant women and gestational age were not significantly related to quality of sleep (r = -.100, p = .255; r = .124, p = .156) This study results help nurses and health care providers who take care of pregnant women know more about sleep problems and factors affecting sleep quality in normal pregnant women. The study results can be used as a baseline data to create the nursing practice guideline for promoting sleep quality in pregnant women.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account