dc.description.abstract |
ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยเป็นหัวใจสําคัญของการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต การวิจัยเชิงพรรณนาแบบเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการทุกข์ทรมาน ความต้องการการดูแล และการพยาบาลที่ได้รับของผู้ป่วยระยะประคับประคองที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกเป็นผู้ป่วย ระยะประคับประคองที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดลพบุรีที่มีคุณลักษณะตามกำหนด จํานวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์อาการทุกข์ทรมาน ความต้องการ การดูแลและการพยาบาลที่ได้รับของผู้ป่วยมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาทั้งสามเครื่องมือเท่ากัน คือ .83 และค่าความเชื่อมั่นของแอลฟาครอนบาคเท่ากับ .76, .77 และ .75 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมของอาการทุกข์ทรมาน ความต้องการการดูแล และการพยาบาลที่ได้รับในช่วงแรกรับเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเท่ากับ 3.40 (SD = 2.90), 3.63 (SD = 2.82) และ 3.74 (SD = 3.07) ตามลําดับ และในช่วงก่อนกลับบ้าน เท่ากับ 0.39 (SD = 0.60), 0.42 (SD = 0.68) และ 0.44 (SD = 0.71) ตามลําดับ คะแนนเฉลี่ยอาการทุกข์ทรมานระหว่างช่วงแรกรับเข้ากับช่วงก่อนกลับบ้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = 23.22, p< .001) ในช่วงแรกรับเข้า มีคะแนนเฉลี่ยความต้องการการดูแลและการพยาบาลที่ได้รับแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= -2.58, p< .05) และในช่วงก่อนกลับบ้าน มีคะแนนเฉลี่ยความต้องการการดูแลและการพยาบาลที่ได้รับแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= -2.88, p< .01) ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรประเมินอาการทุกข์ทรมาน ความต้องการการดูแล และการพยาบาลที่ได้รับตั้งแต่แรกรับเข้าพักรักษาตัวและก่อนกลับบ้าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบ การจัดการเพื่อบรรเทาอาการ ติดตาม ส่งต่อ และสรุปผลการรักษาพยาบาลรวมทั้งการวิจัยต่อยอดด้วย การทําวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนาไปสู่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ |
|
dc.description.abstractalternative |
The palliative care system to relieve suffering of patients is a significant importance of nursing care for people at end of life. The purpose of this comparativedescriptive research was to examine symptom distress, needs of care, and received nursing careof hospitalized palliative patients. A convenience sampling was used to recruit 90 participants who were palliative illness in a community hospital, Lopburiprovince. Research instruments included the interviews of symptom distress, needs of care, and received nursing care. Their Content Validity Indices of all 3 interviews were .83 equally; and their Cronbach’s alpha reliabilities were .76 .77 and .75, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic and paired t-test. The results revealed that during admission period, the total mean scores of symptom distress, needs of care, and received nursing care were 3.40(SD = 2.90), 3.63 (SD = 2.82), and 3.74 (SD = 3.07), respectively, and for before discharge were 0.39 (SD = 0.60), 0.42 (SD = 0.68), and 0.44 (SD = 0.71), respective. The total mean scores of symptom between admission period and before discharge were significantly different (t = 23.22, p< .001). During admission period, the total mean scores between needs and receiving of nursing care were significant different (t= - 2.58, p< .05). For before discharge, the total mean scores between needs and receiving of nursing care were alsosignificant different (t= -2.88, p< .01). These findings suggest that nurse should evaluate symptom distress, needs of care, and received nursing care since the beginning at the admission period, and also beforedischarge. Its information could be further use for symptom management, monitoring, referring, and nursing outcome summarizing. In addition, aqualitative approach study would be employed to develop the best practice guideline. |
|