Abstract:
ความสุขสบายเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณาเพื่อหาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขสบายและความสัมพันธ์ระหว่างความปวด ความวติกกังวลและการสนับสนุนทางสังคมกับความสุขสบายของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน จำนวน 67 ราย ซึ่งเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม และหอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตพัทยาจังหวัดชลบุรีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสัมภาษณ์ความเจ็บปวด แบบสัมภาษณ์ความวิตกกังวล และแบบสัมภาษณ์ความสุขสบายวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความสุขสบายระดับปานกลาง (M = 99.85, SD = 15.72) ความปวดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (r= -.41, p= .001) ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับมาก (r= -.90, p< .001) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับความสุขสบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .89, p< .001) ผลจากการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพควรสนับสนุนให้การดูแลจัดการความปวด และลดความวติกกังวลแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากขึ้น และเกิดความสำเร็จในการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ