Abstract:
สุขภาวะทางปัญญาเป็นมิติสำคัญทางสุขภาพที่เชื่อมยยงและส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นของญาติผู้ดูแลการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะทางปัญญาของญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายกลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 180 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา สัมพันะภาพระหว่างผู้ดูแลและคนพิการ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาระการดูแล และสุขภาวะทางปัญญา มีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88, .94, .83, .82 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ดูแลกลุ่มตัวอย่าง มีสุขภาวะทางปัญญาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีสุขภาวะทางปัญญา 3 อันดับแรกมากที่สุด คือ ด้านการตั้งเป้าหมาย ( X = 4.17, SD = 2.29) ด้านความสุขสงบ ( X = 4.10, SD = 3.29) และด้านสติ สมาธิ และปัญญา ( X = 4.00, SD = 5.89) ตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยสัมพันธภาพระหว่างผู้ดุแลและคนพิการ (B = 0.292) การสนับสนุนทางสังคม (B = 0.169) การรับรู้ภาระการดูแล (B = -0.175) การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา (B = 0.136) โดยสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางปัญญาของญาติผู้ดูแลคนพิการทางการไหวหรือทางร่างกายได้ร้อยละ 25.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 adj = 0.258, F = 4.03, p< .05) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาโดยเน้นการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและคนพิการ ส่งเสริมให้ครอบครัวเพื่อน และบุคคลสำคัญมีส่วนร่วมช่วยเหลือญาติผู้ดูแล ลดภาระการดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาของญาติผู้ดูแล ซึ่งจะทำให้ญาติผู้ดูแล มีสุขภาวะทางปัญญานำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี