dc.contributor.advisor |
พรนภา หอมสินธุ์ |
|
dc.contributor.advisor |
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ |
|
dc.contributor.author |
ทิพย์วรรณ โพธิ์ตา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:24:43Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:24:43Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7760 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การฝากครรภ์มีความจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสาเหตุของการฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในชุมชนใช้กรอบแนวคิดอิทธิพล 3 องค์ประกอบของเฟรห์ (TTI, Fray & Petraitis,1994) รูปแบบการศึกษาเป็น Case-control study กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม จำนวน 220 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา (Case) คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จำนวน 110 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ (Control) คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จำนวน 110 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบวัดความตั้งใจตั้งครรภ์แบบวัดการรับรู้ความสามารถในการมาฝากครรภ์ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์แบบวัดเจตคติต่อการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์ และแบบสอบถามการยอมรับการตั้งครรภ์ของคู่สมรส/คู่รักครอบครัวและชุมชน โดยแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์มีค่า KR-20 (Kuder Richardson-20) เท่ากับ .81 ส่วนแบบวัดอื่นมีค่าครอนบาคอัลฟา 0.70 ถึง 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Binary logistic regression ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกช้าของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่ การยอมรับการตั้งครรภ์จากชุมชน (ORadj=18.00,95% CI = 5-12-63.27) การยอมรับการตั้งครรภ์จากครอบครัว (ORadj=15.37, 95% CI=5.27-44.80) ความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์ (ORad= 11.81, 95% CI=4.16-33.50) การรับรู้ความสามารถในการฝากครรภ์ (ORadj = 9.15, 95% CI=3.02-27.72) และเจตคติต่อการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์(ORadj= 4.54, 95% CI=1.51-13.63) จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรมีการดำเนินงานเชิงรุก ในการจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมาฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์แรกที่ตั้งครรภ์โดยเน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฝากครรภ์และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ครอบครัวและชุมชน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน |
|
dc.subject |
การฝากครรภ์ |
|
dc.subject |
ครรภ์ |
|
dc.title |
ปัจจัยสาเหตุของการฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในชุมชน |
|
dc.title.alternative |
Determinnts of hving first ntentl cre visit lte mong pregnnt teengers in community |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Antenatal care is necessary for pregnant women especially pregnant adolescents who are at high risk. Purpose of this study was to identify factors associated with first antenatal care (ANC) late among pregnant teenagers in community. The study had a theoretical framework as theory of triadic influence: (TTI, Fray & Petraitis, 1994) and had a design as a case-control study. Participants consisted of 220 pregnant adolescent aged less than 20 years old having first ANC visit late at sub-district health promoting hospitals in Nakornprathom province. Participants were divided into two groups, case and control. Case group included 110 women receiving first ANC after 12 weeks of gestation. Control group consisted of 110 women receiving first ANC visit within the first 12 weeks of gestation. Data were collected bypersonal questionnaire, Intention of Pregnancy Scale, Perceived Self-efficacy for ANC, Knowledge of ANC, Attitude toward Pregnancy and ANC, and Approval of Partner, Family and Community. Knowledge of ANC had an acceptable value of KR-20 (Kuder Richardson-20) as 0.81. Others had acceptable Cronbach's alpha coefficients from 0.70 to 0.97. Data were analyzed by descriptive statistics and binary logistic regression. Study resulted that significant factors related to having ANC visit late were perceived self-efficacy for ANC (ORadj= 9.15, 95% CI=3.02-27.72), knowledge of ANC (ORadj = 11.81, 95% CI= 11.81, 95% CI=4.16-33.50), attitude toward pregnancy and ANC (ORadj= 4.54, 95% CI=1.51-13.63), approval of family (ORadj= 15.37, 95% CI=5.27-44.80), and community approval (ORadj= 18.00,95% CI= 5.12-63.27). Findings suggest that community nurse practitioners would be proactive in motivating pregnant teenagers to have ANC visit within the first 12 weeks of pregnancy. They may emphasize on educating and encouraging an awareness of ANC visit importance for pregnant adolescents, their families, and their communities. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|