DSpace Repository

ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมสมัย รัตนกรีฑากุล
dc.contributor.advisor สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.advisor วรรณรัตน์ ลาวัง
dc.contributor.author วิจิตรา อิ่มอุระ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:43Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:43Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7759
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract ภาวะโภชนาการเกินในเด็กก่อนวัยเรียนเกิดจากหลายปัจจัยทั้งด้านตัวเด็กการเลี้ยงดูของมารดาและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทํานายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดา และเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-5 ปีศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของกรุงเทพมหานครจํานวน 445 คู่ และครูประจําชั้น จํานวน 7 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมของเด็ก ความรู้และพฤติกรรมของมารดา สิ่งแวดล้อมที่บ้าน สิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็ก และแบบบันทึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า อัตราภาวะโภชนาเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานครเฉลี่ยร้อยละ 11.91 การวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยแบบโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทํานายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก(CF) (ORadj = 10.27, 95% CI = 3.60-29.32) กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็ก (CA) (ORadj = 4.30, 95% CI =1.63-11.34) ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของมารดา (MK) (ORadj = 3.19, 95% CI =1.16-8.80) พฤติกรรมการจัดอาหารของมารดา (MP) (ORadj = 5.63, 95% CI =2.19-14.52) อาหารที่จัดเก็บในบ้าน (HF) (ORadj = 9.57, 95% CI = 3.06-29.90) พื้นที่สําหรับกิจกรรมที่บ้าน (HAr) (ORadj = 6.28, 95% CI = 2.45-16.06) และการจัดอาหารให้แก่เด็กของศูนย์ฯ (SF) (ORadj = 0.21, 95% CI = 0.05-0.91) มีอํานาจการทํานายร้อยละ 93 เขียนสมการทํานายได้ดังนี้ Logexp (ODDs) = -10.24 + 2.33CF+ 1.46CA + 1.16MK + 1.73MP + 2.26HF+ 1.84HA-1.56SF ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนและในชุมชนสามารถนําผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันภาวะโภชนาการเกินให้แก่เด็กก่อนวัยเรียน โดยเน้นให้มีการปฏิบัติแบบพหุระดับ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โภชนาการ
dc.subject โภชนาการเด็ก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subject เด็ก -- โภชนาการ
dc.title ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative Fctors predicting overweight mong preschool children in child development center, bngkok
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Overweight among preschool children was caused by multiple factors, including individual, parenting, and environmental factors. As a consequence, this study aimed to examine the associated factors and predictive factors of overweight among preschool children at the Child Development Center, Bangkok. A multi-stage random sampling technique was used to select a total of 445 pairs of mothers and their preschoolers (3-5 years of age) and 7 teachers. Data were collected by using the self-report questionnaires consisting of child’s behaviors, mother’s knowledge and behaviors, home’s environment, Child Development Center’s environment, and record forms. Descriptive statistics and the binary logistic regression were performed to analyze collected data. The result shows that the mean rate of overweight children among preschoolers was 11.91 percent. The binary logistic regression analysis indicated that the food consumption behavior of preschoolers (CF) (ORadj = 10.27, 95% CI = 3.60-29.32), preschoolers' physical activity (CA) (ORadj = 4.30; 95% CI,1.63-11.34), maternal nutritional knowledge (MK) (ORadj = 3.19; 95% CI, 1.16-8.80), mother's behavior concerning food provision (MP) (ORadj = 5.63, 95% CI =2.19-14.52), food stored at home (HF) (ORadj = 9.57, 95% CI = 3.06-29.90), home activities area (HAr) (ORadj = 6.28, 95% CI = 2.4-16.06) and child care nutrition program (SF) (ORadj = 0.21, 95% CI = 0.05- 0.91) were significantly predictors associated with overweight among preschool children, with a 93 percentpredictive power. The equation for predictors of overweight among preschool children can be written as follows: Logexp (ODDs) = - 10.24+2.33CF+1.46CA+1.16MK+1.73MP+2.26HF+ 1.84HAr-1.56SF. These findings suggest that nurses and related health care providers for children in the child development centers and community could utilize to be a guideline to develop a program of health promotion and behavioral modification to prevention overweight among preschoolersby emphasizing on multi-level implementation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account