Abstract:
โรคเรื้อรังเป็นโรคไม่ติดต่อและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญที่ส่งผลให้เกิดความพิการ และเสียชีวิตตามมาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคและปัจจัย ทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของคนวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างจํานวน 480 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นผู้ที่มีอายุ 40-59 ปีอาศัยอยู่ในเขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเรื้อรังมาก่อน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .71 ถึง .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 (SD = 0.43) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังได้แก่ การได้รับความรู้จากญาติ (x = .31) การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรม (x = .28) การได้รับความรู้จากหนังสือพิมพ์ (x = .21) กลุ่มโซเชียลมีเดีย (x = .15) อายุ (x = .15) เพศชาย (x = -.12) วิทยุ (x = -.14) การรับรู้อุปสรรค (x = -.22) และเพื่อนสนิท (x = -.22) ทั้ง 9 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกัน ทํานายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังได้ร้อยละ 33.30 (Adjust R 2 = .333, F = 26.05, p< .001) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน ควรพัฒนากิจกรรมหรือรูปแบบการป้องกันโรคเรื้อรังให้แก่กลุ่มคนวัยกลางคน โดยเน้นการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ของการมีพฤติกรรมเหมาะสม