DSpace Repository

ผลของจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลต่อความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.advisor จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
dc.contributor.author จุรานุช จอมโคกสูง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:42Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:42Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7756
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตเป็นสภาวะวิกฤตด้านจิตใจที่ควรได้รับการดูแลและประคับประคอง การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลต่อความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติและจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคล จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน นานประมาณ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความเครียดของสมาชิกครอบครัว ผู้ป่วยวิกฤต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ในกลุ่มทดลอง คะแนนเฉลี่ย ความเครียดภายหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีลดลงมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p< .001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า จิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลนี้มีประสิทธิภาพพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรประยุกต์รูปแบบของจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลนี้ไปใช้เพื่อลดความเครียดให้กับสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่มีลักษณะทำนองเดียวกันนี้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject จิตบำบัด
dc.subject ผู้ป่วย -- การพยาบาล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ผลของจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลต่อความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม
dc.title.alternative Effect of individul supportive psychotherpy on stress in fmily members of surgicl intensive cre unit ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Stress in family members of crisis patients is a psychological crisis that should be taken care and supported. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of the individual supportive psychotherapy on stress in family members of patients in a surgical intensive care unit. The sample included 20family members of patients in a surgical intensive care unit, Ramathibodi hospital who met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned into the experimental and the control groups, 10 for each group. The experimental group received routine nursing care and the individual supportive psychotherapy for 5 daily-sessions, each session took about 60 to 90 minutes. The control group received only routine nursing care. Tools for data collection were a demographic questionnaire, and the questionnaire of stress in family members of crisis patients. Descriptive statistics and t-test were employed for data analysis. The results revealed that after completion of the intervention, the experimental group had significantly lower mean scores of stress than those in the control group (p< .001). In the experimental group, the mean score of stress at posttest was significantly lower than those at pretest (p< .001). These findings indicate that this individual supportive psychotherapy is effective. Nurses and related health personnel should apply this individual supportive psychotherapy model to reduce stress among family members of patients with similar crisis.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account