dc.contributor.advisor |
ดวงใจ วัฒนสินธุ์ |
|
dc.contributor.advisor |
ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ |
|
dc.contributor.author |
จิรศักดิ์ ประจงบัว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:24:42Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:24:42Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7755 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นหาย และการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 120 ราย ที่ผู้ป่วยมารับบริการในโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ จังหวัดสระแก้ว คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต แบบประเมินการรับรู้ภาระในการดูแล แบบสอบถามการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหาแบบสอบถามการเผชิญความเครียดแบบมุ่งปรับอารมณ์ และแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามเหล่านี้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, .89, .95, .78, .78 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบอยู่ในระดับปานกลาง ( ̅= 47.79, SD = 10.94) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การรับรู้ภาระการดูแล การเผชิญความเครียดแบบมุ่งปรับอารมณ์ และสัมพันธภาพในครอบครัวร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ร้อยละ 45.50 (R 2 = .455, Fdf= 32.22, p< .05) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้สูงสุดคือ การรับรู้ภาระการดูแล ( = .51, p< .001) รองลงมาคือ การเผชิญความเครียดแบบมุ่งปรับอารมณ์ ( = .18, p< .05) และสัมพันธภาพในครอบครัว ( = -.18, p< .05) จากผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมที่ลดการรับรู้ภาระการดูแล ลดการเผชิญความเครียดแบบมุ่งปรับอารมณ์ ตลอดจนส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว ซึ่งจะช่วยลดการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ผู้ป่วยจิตเภท |
|
dc.subject |
จิตเภท |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท |
|
dc.title.alternative |
Fctors influencing negtive expressed emotion mong cregivers of ptients with schizophreni |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Negative expressed emotion of caregivers of schizophrenic patients is important, it may affect patients’ recovery from illness and their re-admission into the hospital. Purposes of this predictive correlational study were to investigate level ofnegative expressed emotion and its predicting factors among 120 schizophrenic caregivers caring for schizophrenia patients treatedatSakaeo Rachanakarindra Psychiatric Hospital. Data had been collected from October to December, 2017 by self-report questionnaires including personal information, Negative Expressed Emotion Questionnaire, Perception of the Severity of Psychotic Symptoms Questionnaire, Perceived Caregiver Burden Questionnaire, Problem Focus Coping Behavior Questionnaire, Emotional Focused Coping Behavior Questionnaire, and Family Relationship Questionnaire. Cronbach’s alpha coefficients of these questionnaires were .85, .89, .95, .78, .78, and .84, respectively. Mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis were employed for data analysis. Results of study revealed that caregivers of patients with schizophrenia had negative expressed emotion at a moderate level ( ̅= 47.79, SD = 10.94).Stepwise multiple regression analysis showed that perceived caregiver burden, emotional focused coping, and family relationship could explain 45.50 % of the variance in negative expressed emotion among caregivers of patients with schizophrenia (R 2 = .455, Fdf= 32.22, p< .05). The most significant predicting factor was perceived burden (β = .51, p< .001) followed by emotional focused coping(β = .18, p< .05) and family relationship (β = -.18, p< .05). This study findings suggest that health care providers should develop a program to reduce caregiver burden and their emotional focused coping as well as strengthen their family relationship. This would help reduce negative expressed emotion in caregivers of patients with schizophrenia. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|