DSpace Repository

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.advisor ชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.author เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:42Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:42Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7752
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ความฉลาดทางอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับนักศึกษาพยาบาลที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับ สถานการณ์ที่กดดันอันเป็นการช่วยเสริมสร้างภาวะสุขภาพจิตที่ดีการวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2560 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 52 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 26 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินภาวะสุขภาพจิต ซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 และโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่มที่เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลนักศึกษาตามระบบการดูแลปกติดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาการทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือนต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (X = 8.35, SD = 2.17) และระยะติดตามผล 1 เดือน (X = 6.96, SD = 2.73) ต่ำกว่าระยะก่อนการทดลอง (X = 10.42, SD = 3.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์สามารถช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลได้ดังนั้นพยาบาลหรือบุคลากรทางด้านสาธารณสุขจึงควรนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีอื่นหรือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject สุขภาพจิต
dc.subject นักศึกษาพยาบาล
dc.subject ความฉลาดทางอารมณ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล
dc.title.alternative The effect of emotionl quotient enhncement progrm on mentl helth mong nursing students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Emotional quotient is an important factor for enhancing nursing students’ abilities to adapt themselves when faced with stressful situations. These would help promote good mental health. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of the Emotional Quotient enhancement program on mental health among 52 first year nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi, in academic year 2017. They were randomly assigned into either the experimental group (n= 26) and the control group (n= 26). The research instruments include the data recording form, the General Health Questionnaire (GHQ 28) with Cronbach’s alpha of .80, and the Emotional Quotient enhancement program. This program include the 8 sessions of group activities, which conducted twice sessions per week for 4 week period. Data collection were conducted from January to March, 2018. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measures ANOVA and pairwise comparison using Bonferroni method were employed to analyze the data. The results showed that the experimental group had the mean scores of mental health at post-test and 1-month follow-up significantly higher than the control group at p< .001. In the experimental group, the mean scores of mental health at post-test (X = 8.35, SD = 2.17), and 1month follow-up (X = 6.96, SD = 2.73) were lower than at pre-test (X = 10.42, SD = 3.04) with p< .001. The results revealed that this program could effectively decrease mental health problems among nursing students. Therefore, nurses and related health care providers could apply this program to promote mental health among nursing students in the other years of study or other university students.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account