dc.contributor.advisor |
ชนัดดา แนบเกษร |
|
dc.contributor.advisor |
จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส |
|
dc.contributor.author |
ศิโรรัตน์ แก้ววงดี |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:24:41Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:24:41Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7751 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
ภาวะซึมเศร้าในผู้ที่รอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้การบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติในการดูแลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าเป็นโปรแกรมการช่วยเหลือที่มุ่งเน้นให้เกิดความกลมกลืนของกายและจิตด้วยการฝึกสติเพื่อปรับโครงสร้างทางความคิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้ากลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 20 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ จำนวน 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คร้ัง คร้ังละ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-IA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 2 สัปดาห์กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 2 สัปดาห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติแบบกลุ่มสามารถลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับได้พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ แบบกลุ่มนี้เพื่อลดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ และประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะอื่น ๆ ที่มีภาวะซึมเศร้าต่อไป |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ความซึมเศร้า |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ |
|
dc.title.alternative |
Effects of mindfulness-bsed cognitive therpeutic progrm on depression in ptients on the witing list for liver trnsplnttion |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Depression is the important problem found in patients on the waiting list for organ transplant. It can progress to be depressive disorders. Mindfulness-Based Cognitive Therapy (MBCT) for caring persons with depression is the therapeutic program focusing on enhancing harmony between mind and body and cognitive restructure. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of MBCT program on depression. The sample included twenty patients on the waiting list for liver transplant and met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned into the experimental group (n= 10) and the control group (n= 10). The experimental group received MBCT program for 6 sessions, one session per week and each session took about 60 to 90 minutes. Whereas those in the control group received only routing nursing care. The Beck Depression Inventory IA (BDI-IA) was used to collect data. Descriptive statistics, independent t-test, repeated measure ANOVA and pairwise comparison using Bonferroni’s method were employed to analyze the data. The results showed significant difference for the mean scores of depression between the experimental and control groups at post-test and 2 week follow up (p< .05). In the experimental group, the mean scores of depression at pre-test, post-test, and 2 week follow up were significant different (p< .001). From the results, it showed that this MBCT program had significant effect on depression among patients on the waiting list for liver transplant. Therefore, nurses and related health personnel could apply this program in order to reduce depression among these patients and patients with depression who are on the waiting list for other organ transplant. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|