Abstract:
ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่นําไปสู่โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายการดูแลที่สําคัญ คือ การเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้า และความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จํานวน 24 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่ม จํานวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 90-120 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ โปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่มพัฒนาโดยใช้กรอบแนวคิด BOVORNKITI Art Therapy Model (เลิศศิริร์ บวรกิตติ, 2559) และแนวคิดความรู้สึก มีคุณค่าในตนเองของ Rosenberg (1965) วัดก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้ น และติดตามผล 1 เดือนด้วยแบบวัดภาวะซึมเศร้า และแบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองวิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าที (Independent t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าและความมีคุณค่าในตนเองในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กลุ่มทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าและความมีคุณค่าในตนเองในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่มสามารถลดภาวะซึมเศร้า และเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองให้กับผู้สูงอายุที่ภาวะซึมเศร้าพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพอื่น ๆ ที่ปฏิบัติด้านการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุในชุมชน สามารถนํารูปแบบศิลปะบําบัด การวาดภาพไปใช้กับผู้สูงอายุเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ