DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพอิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน

Show simple item record

dc.contributor.advisor นฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.advisor ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.author นุชจรินทร์ สุทธิวโรตมะกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:40Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:40Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7746
dc.description วิทยานิพนธ์ (พ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract เด็กวัยเรียนมีแนวโน้มของการเกิดภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วน เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 161 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพ แบบสอบถาม อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีค่าความเชื่อมั่น .87, .75 และ .56 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลจากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนอยู่ในระดับพอใช้ โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเท่ากับ 42.19 (SD = 7.11) ความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .237, p= .002 , r= .319, p < .001) ตามลำดับ) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความฉลาดทางสุขภาพของเด็กวัยเรียน และการได้รับอิทธิพล จากครอบครัวและกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เด็กวัยเรียน
dc.subject บริโภคกรรม
dc.subject นักเรียน -- โภชนาการ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพอิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน
dc.title.alternative The reltionships between helth litercy, fmily nd peer influences nd eting behvior of school-ge children
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative School-age children are more likely to be overweight and obese due to improper diet. This descriptive correlational research aimed to study the relationship between health literacy, family and peer influences and eating behavior of school-age children. Participants of the study were 161 of the sixth grade students studying at a school in Phanat Nikhom district, Chon Buri Province. They were randomly selected to participate in the study. Data were collected during February to March, 2018. The research instruments consisted of school-age children’s general information questionnaire, health literacy questionnaire, family and peer influences questionnaire, and eating behavior questionnaire. The reliabilities of these questionnaire were .87, .75 and .56, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results of this study indicated eating behavior of the school-age children was at a moderate level. The mean score of eating behavior was 42.19 (SD = 7.11). Health literacy and family and peer influences were both positively correlated with eating behavior (r= .237, p= .002, r= .319, p< .001 respectively). This correlational study showed thathealth literacy of school-age children and the influences of family and peer are correlated with food consumption behavior. These findings can be used for planning to promote appropriate dietary habits of the school-age children.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเด็ก
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account