DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.advisor นฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.author รสสุคนธ์ จารุวรรณบำรุง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:40Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:40Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7743
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคเรื้อรังทางกรรมพันธุ์ ซึ่งต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เด็กอาจเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ อันส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวจิยัเชิงหาความสัมพันธ์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อาการรบกวน การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น -thalassemia major หรือ -thalassemia/ Hb E ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเลือด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 90 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพที่มีลักษณะเป็นมาตรวัดแบบตัวเลข แบบสอบถามการรับรู้อาการรบกวน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .74, .87 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r s = .226, p = .032) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= -.222, p= .035) ส่วนการรับรู้อาการรบกวนไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรวางแผนออกแบบโปรแกรมที่เน้นการส่งเสริมการรับรู้ภาวะสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้เด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.subject ธาลัสซีเมีย
dc.subject ธาลัสซีเมียในเด็ก -- ผู้ป่วย -- การดูแลที่บ้าน
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย
dc.title.alternative Fctors relted to helth-relted qulity of life mong children with thlssemi
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Thalassemia is a genetic blood disease which needs continuing care. Otherwise, children may experience some health problems that affect their health-related quality of life. This correlational research aimed to study the relationships between the perception of symptoms, perception of health status, social support and health-related quality of life among children with Thalassemia. Research participants were 90 children with -thalassemia major or -thalassemia/ Hb E who received care at hematological clinic, Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital, Ayutthaya province.Simple random sampling was used to recruit samples from April to June 2018. The research instruments consisted of a numerical rating scale to measure perception of health status, perception of symptoms questionnaire, social support questionnaire and health-related quality of life questionnaire. The reliabilities of questionnaire were .74, .87 and .90 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient. The result found that there was a low, positive correlation between perception of health status and health-quality of life among children with thalassemia (r s = .226, p=.032) while there was a low, negative relationship between social support and health-quality of life among children with thalassemia (rs= -.222, p= .035). However, there was no correlation between perception of symptoms and health-quality of life (p> .05). These results suggest that nurses should design the interventions to promote perception of health status and social support for children with thalassemia to improve health-related quality of life
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเด็ก
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account