DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author อัมพวรรณ ปิ่นวิหค
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:38Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:38Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7736
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการปัญหาและแนวทาง พัฒนาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 103 คน จากตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน จากนั้นดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามประสบการณ์ในการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อโดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .38-.79 และค่าความเชื่อมั่นของทั้งฉบับ เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยใช้การเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการทดสอบรายคู่แบบเซฟเฟ่ (Scheffe’ method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการจัดและพัฒนาบุคลากร ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการจัดและพัฒนาบุคลากร และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์ในการสอน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 คือ ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจแก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญ ของหลักสูตร ครูควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้บริหารควรจัดการให้มีการช่วยเหลือกัน ระหว่างครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมในโรงเรียน ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้และทรัพยากร ทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูได้วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง และผู้บริหาร ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้บริหารและครูผู้สอนในเรื่องเทคนิคและวิธีการนิเทศ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษา -- การบริหาร
dc.subject วิชาการ -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
dc.title.alternative Problems nd guided development of cdemic ffirs dministrtion of debsirin smutprkrn school under the secondry eductionl service re office 6
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to study the problems and guidelines for the development of academic affairs administration of Debsirin Samutprakarn School under the Secondary Educational Service Area Office 6. The sample used in this study was 103 teachers working in Debsirin Samutprakarn School under the Secondary Educational Service Area Office 6. The data collection instrument used in this research was a five-point scale questionnaire, with the item discriminative power between .38-.79 and the reliability of .97. The statistics used to analyze the data was Percentage (%), Mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test, One-way ANOVA, and Sheffe’s test. This study revealed that: 1. The problems of academic affairs administration of Debsirin Samutprakarn School under the Secondary Educational Service Area Office 6 as a whole and each aspect was at a moderate level. 2. The compare academic affairs administration of Debsirin Samutprakarn School under the Secondary Educational Service Area Office 6 as rated by teachers with different gender as a whole and each aspect showed statistically significantly at .05 level except in the areas of Human Resource, Measurement, and Supervision which were found no statistical significant difference. When it was rated by teachers with different education background, this study showed statistically significantly difference at .05 level; except in the area of Human Resource and Supervision which was found no statistical significant difference. Teaching experience of teachers also showed statistically significantly difference at .05 level toward academic affairs administration; except in the area of Measurement and Supervision which was found no statistical significant difference. 3. The guidelines for the development of Debsirin Samutprakarn School under the Secondary Educational Service Area Office 6 consisted of 1) Administrators should ensure that teachers perceive the importance of the curriculum, 2) Teachers should provide an environment which facilitate student learning, 3) Administrators should make sure that teachers could help each other when organizing school activities, 4) Administrators should encourage teachers to use learning resources, 5) Administrators should encourage teachers to measure and evaluate students’ learning achievement that reflect the real situation, and 6) Administrators should provide workshops for administrators and teachers on techniques and supervisory.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account