Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน กลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอน และขนาดโรงเรียน และหาแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2560 โดยกำหนดขนาดของโรงเรียน ตามตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 148 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตาม ขนาดโรงเรียน (Stratified random sampling) ซึ่งผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและแนวทาง การบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 1 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.87 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน 2. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอน และ ขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 มีดังนี้ 3.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจแก่ ครู บุคลากร ทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น และผู้บริหารควรประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้ 3.2 ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้บริหารควรเพิ่มการให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ครูและผู้บริหารควรให้ขวัญ และกำลังใจครูที่ประสบความสำเร็จด้านการจัดการเรียนการสอน 3.3 ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ผู้บริหารควรจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง ผู้บริหาร ควรส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล และผู้บริหารควรจัดให้มี การอบรมครูเกี่ยวกับการจัดทำแผนการวัดผลและประเมินผลแต่ละรายวิชา 3.4 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ครูผู้สอนต้องให้ความร่วมมือในการวิจัยตลอดจนเผยแพร่ผลงานวิจัย ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูดำเนินการจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ และผู้บริหารควรจัดให้มีการอบรมครูเกี่ยวกับการสร้างและการใช้นวัตกรรมด้วยวิธี ที่หลากหลายและทันสมัย 3.5 ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผู้บริหารควรจัดให้มี การประสานความร่วมมือในการผลิตจัดหา พัฒนาและการใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้บริหารควรจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาด้านวิชาการ และผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูผลิต พัฒนาสื่อ และนวัตกรรมการเรียนการสอน 3.6 ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารควรดำเนินการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา และผู้บริหารควรดำเนินการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น 3.7 ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารควรจัดให้มีการนำผลการนิเทศมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้ความร่วมมือในการนิเทศการเรียนการสอนและผู้บริหารควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้บริหารและครูผู้สอนในเรื่องเทคนิคและวิธีการนิเทศ 3.8 ด้ านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานต้นสังกัดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ผู้บริหารควรจัดเตรียมงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและผู้บริหารควรส่งเสริมให้ ครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายในภายนอก และการนำข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนา