DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author อภิชาติ เบิกประโคน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:19:16Z
dc.date.available 2023-05-12T04:19:16Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7700
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้ง ในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน กลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ในปีการศึกษา 2560 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .41-.85 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะทำการทดสอบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Sheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ยกเว้น ด้านปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามอายุ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ยกเว้น สภาพองค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้ง ผู้บริหารควรจัดการความขัดแย้งด้วยความเด็ดขาด โดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล พร้อมสร้างแนวทางการทำงานร่วมกัน พยายามที่จะทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับ การกระทำตามเงื่อนไขข้อตกลงของส่วนรวม พยายามหลีกเลี่ยงการแสดงความเห็นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง และจะต้องพยายามเสนอเรื่องราวที่ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ร่วมงานคนใดคนหนึ่ง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject การบริหารความขัดแย้ง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternative Problems nd guidelines for development of conflict mngement in bnglmung schools group 2 under the chonburi primry eductionl sevice re office 3
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate the problems and to find guidelines for the development of conflict management in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The sample of the study included school personnel working in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 in the academic year 2017. Based on Krejice and Morgan's Table of Sample Size (1970, pp.608-609), the sample of the study consisted of 108 school personnel. A rating-scale questionnaire, having the discriminating power of items between .41-.85 and the reliability at .96, was used as an instrument for data collection. Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. In case of significant differences were found, Scheffe’s paring comparison method would be applied. The findings revealed as follows: 1. The problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, both as a whole and in each particular aspect, were found at a high level. 2. On the comparison of the problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, classified by gender, both as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, except only in the aspect of work interaction, in which there was a significant difference at the level of .05. 3. On the comparison of the problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, classified by age, both as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, except only in the aspect of organization status, in which there was a significant difference at the level of .05. 4. On the comparison of the problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, classified by work experience, both as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, 5. Guidelines for the development of conflict management were: administrators should carry out conflict management with firmness by standing on the ground of reasons; and readiness to foster collaborating, accommodating, avoiding, and compromising the conflicts.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account