DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคมตามความคิดเห็นของนักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.author ศิริขวัญ สงคราม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:19:13Z
dc.date.available 2023-05-12T04:19:13Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7684
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการเรียน การสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม ตามความคิดเห็นของนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยจำแนกตามเพศ และระดับชั้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้แบบบูรณาการ จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับปัญหาจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้ แบบบูรณาการของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม ตามความคิดเห็นของนักเรียน จำแนกตามเพศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามระดับชั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับ การเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม ตามความคิดเห็นของนักเรียน ควรมีการจัดทำเอกสาร คู่มือ แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่ มีการกำหนดเนื้อหาวิชาให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม ความถนัด ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน พัฒนาให้ครูผู้สอนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การจัดให้นักเรียนได้เรียนหรือฝึกสนทนากับเจ้าของภาษา และส่งเสริมให้มีการประเมินตนเองเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา)
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคมตามความคิดเห็นของนักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6
dc.title.alternative Problems nd guidelines for the development of using english in mnging teching nd lerning bsed on perspectives of students in bngbor vittykom school under the secondry eductionl service re office 6
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to investigate the problems and to present methods for the development of English language instruction for integrated learning based on students’ perspecti in Bangbor School, under, Office of the Secondary Education Office Region 6. The sample was 141 students taking part in the teaching-learning project using English for integrated learning. Data collection instruments used to collect data was a 5 rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis were Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA. The results were as follows: 1. Based on the students’ feedback, the problems in using English in teaching and learning for learning Integrated in Bangbor School was at a high level. The problems included curriculum, the media in teaching and learning, teaching activities, learning atmosphere, and learning assessment and evaluation, respectively. 2. There was a statistically significant difference at the .05 level between male and female students and students studying in different grade toward their viewpoints concerning problems in using English for learning integration. 3. The guidelines for the development of using English for integrate learning based on students’ perspectives in Bangbor Vittayakom School include 1) the school should publish their English curriculum, relating documents and manual s; 2) the lessons shonld be designed to match with learners’ enperiences, aptitude, competency and interests; 3) the school should provide some apportunities for teachers to enchange their teaching experiences; 4) learners should sometimes practive talking with English native speakers; 5) the school should encourage learners to assess their learning achievement and express what they feel abount teaching and learning activities.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account